วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และยุคแห่งการสำรวจ

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และยุคแห่งการสำรวจ

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และยุคแห่งการสำรวจ

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์

แผนที่ลำดับเหตุการณ์ยุโรปและโลก
แผนที่ลำดับเหตุการณ์ยุโรปและโลก
แผนที่การเดินเรือสำรวจ
แผนที่การเดินเรือสำรวจ  ค.ศ. 1492 - 1611
แผนที่ลำดับเหตุการณ์ยุโรปและโลก
แผนที่ลำดับเหตุการณ์ยุโรปและโลก

ประวัติความเป็นมาของความคิดทางวิทยาศาสตร์

          ระหว่าง 600 ปี ก่อนคริสต์ศักราช และคริสต์ศักราช 200 นักวิทยาศาสตร์กรีกได้พัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับวิธีการทำงานในโลกมากมาย พวกเขาเชื่อในทฤษฎีที่เรียกว่าเหตุผลนิยม (Rationalism) ซึ่งผู้คนใช้เหตุผลหรือความคิดเชิงตรรกะเพื่อเข้าใจโลก

จักรวาลที่มีโลกเป็นจุดศูนย์กลาง นักปรัชญากรีก ชื่อ อริสโตเติล (Aristotle) ผู้มีชีวิตอยู่ตั้งแต่ 384-322 ก่อนคริสต์ศักราช ถือว่าเป็นหนึ่งในนักคิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดทุกยุคทุกสมัย เขาได้ศึกษาดาวและดาวเคราะห์ในแนวทางที่มีเหตุผล การศึกษาของเขานำไปสู่การปรับปรุงและเผยแพร่ทฤษฎีที่มีโลกเป็นจุดศูนย์กลางจักรวาล (Geocentric Theory) ทฤษฎีนี้ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาในโลกยุคโบราณ วางโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ในทฤษฎีของอริสโตเติล ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ทั้งหมดโคจรเป็นวงกลมรอบโลกอย่างแท้จริง
ประมาณ 500 ปีต่อมา การทำงานของนักดาราศาสตร์ชื่อปโตเลมี (Ptolemy - TAHL•uh• mee) เห็นด้วยกับทัศนะของอริสโตเติลและเผยแพร่แนวคิดนั้น ปโตเลมีอ้างว่าดวงจันทร์และดาวเคราะห์หมุนรอบตัวเองเป็นวงโคจรเล็ก ๆ ในขณะที่โคจรหมุนรอบตัวเอง ก็ยังหมุนรอบโลกเป็นวงโคจรใหญ่ ทัศนะของอริสโตเติลและปโตเลมีเกี่ยวกับจักรวาลพิสูจน์แล้วว่าผิด แม้กระนั้นก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ยอมรับทัศนะของพวกเขาเป็นเวลาถึง 1,400 ปี ต่อไป ก่อน ค.ศ. 1500 นักวิชาการยุโรปสองสามคนท้าทายความคิดทางวิทยาศาสตร์และทัศนะของนักคิดโบราณโดยการสังเกตธรรมชาติอย่างรอบคอบด้วยตัวเอง
ทฤษฎีลูกเป็นจุดศูนย์กลางจักรวาล
ภาพแกะสลักอธิบายแนวความคิดลูกเป็นจุดศูนย์กลางจักรวาล ทำขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16
คณิตศาสตร์และการแพทย์กรีก  ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชใน นักวิชาการกรีกชื่อพีทาโกรัส (Pythagoras - pih•THAG•uhr•uhs) พยายามอธิบายจักรวาลในแง่คณิตศาสตร์ ในทัศนะของเขา ทุกสิ่งผสมผสานกลมกลืนกันในทางที่สอดคล้องกันในการก่อรูปเป็นจักรวาล แนวความคิดที่สรรพสิ่งผสมผสานกลมกลืนกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยก่อรูปเป็นสรรพสิ่งขึ้นนี้รู้จักกันว่าHarmony (ความกลมกลืนกัน – ขอคำแนะนำ) การทำงานของพีทาโกรัสมีอิทธิพลอย่างมากต่อปรัชญากรีกยุคคลาสสิกและปรัชญายุโรป
ประมาณ 200 ปีต่อมา ยุคลิด (Euclid - YOO• klihd) อาศัยทฤษฎีพีทาโกรัสเป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาตัวเอง เขาได้ศึกษารูปร่างต่าง ๆ เช่น รูปวงกลมและรูปสามเหลี่ยม ผลงานของเขาเป็นพื้นฐานของสาขาวิชาการศึกษาซึ่งรู้จักกันว่า เรขาคณิต (Geometry)หลักสูตรเรขาคณิตในปัจจุบันนี้ยังคงตั้งอยู่บนฐานการศึกษาของยุคลิด
ชาวกรีกยังวางรากฐานการแพทย์สมัยใหม่  ฮิปโปเครติส (Hippocrates) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช เชื่อว่าแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคโดยการสังเกตหลายกรณี การปฏิบัตินี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิบัติทางการแพทย์ในยุคต่อมา กาเลน(Galen) ผู้มีชีวิตอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 (ค.ศ. 129-200 หรือ 216) มุ่งเน้นไปที่กายวิภาคศาสตร์ คือ การศึกษาโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต เขาได้รับความรู้จากการผ่าตัดมากมาย ด้วยการผ่าตัดพืชและสัตว์เพื่อสำรวจดูชิ้นส่วนพืชและสัตว์เหล่านั้น
ยูคลิด
ยูคลิดเจ้าของผลงานเรื่อง  The Elements
วิทยาศาสตร์ในยุคกลาง เป็นเวลาหลายศตวรรษหลังจากกาเลนเสียชีวิต การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นในยุโรปเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม นักวิชาการมุสลิมมีความสนใจในความรู้ทางวิทยาศาสตร์ยุคคลาสสิก ระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 และกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 นักวิชาการมุสลิมได้ยืมการเรียนรู้ของกรีซยุคคลาสสิกและสังคมโบราณอื่น ๆ มาพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้า เมื่อเวลาผ่านไป การศึกษาและความรู้ของชาวมุสลิมก็แพร่กระจายไปยังยุโรปตะวันตก
  นักวิชาการมุสลิม ยิวและคริสต์ ในอัลอันดะลุส (Al-Andalus -  อัลอันดะลุส เป็นชื่อภาษาอาหรับของบริเวณคาบสมุทรไอบีเรียและเซ็พติเมเนียที่ปกครองโดยอาหรับและชาวมุสลิมในแอฟริกาเหนือ ในช่วงเวลาต่าง ๆ กันระหว่าง ค.ศ. 711 จนถึง ค.ศ.1492)  ได้ช่วยกระบวนการเผยแพร่ความรู้นี้ หลายคนได้แปลผลงานด้านวิทยาศาสตร์ที่เป็นภาษากรีกและภาษาอาหรับเป็นภาษาละติน นักปราชญ์ชาวคริสต์ริสต์พากันแห่ไปสเปนเพื่อศึกษาผลงานเหล่านี้และนำกลับไปยังยุโรป
          ในช่วงเวลานี้ นักวิชาการชาวยิวมีบทบาทสำคัญ หนึ่งในนักวิชาการเหล่านี้คือนักวิชาการ ชื่อ Gersonides (guhr•SAHN•uh•DEEZ) ผู้ที่มีชีวิตอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เขาได้สร้างเครื่องมือในการวัดระยะทางระหว่างวัตถุในท้องฟ้า ด้วยการใช้เครื่องมือนั้น เขาคำนวณได้อย่างถูกต้องว่าดาวฤกษ์อยู่ไกลจากโลกเป็นอันมาก ก่อนหน้านี้ นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นด้วยกับปโตเลมีว่าดาวฤกษ์ค่อนข้างอยู่ใกล้โลกเพียงแค่อยู่ถัดไปจากดวงจันทร์
  ในขณะที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้แพร่กระจายไปทั่วยุโรป ในไม่ช้า ความขัดแย้งก็เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศาสนาและวิทยาศาสตร์  ศาสนาคริสต์เน้นการมองโลกด้วยศรัทธา ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์เน้นเหตุผล นักปราชญ์ชาวคริสต์ ชื่อ ทอมัส คไวนัส พยายามแสดงให้เห็นว่าทัศนะทั้งสองอาจจะดำรงอยู่ได้ด้วยความสามัคคี ไม่ช้าก็เร็ว การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ  จะคุกคามความสามัคคีนี้ระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยานำไปสู่แนวความคิดใหม่ ๆ หลังจากที่จักรวรรดิไบเซนไทน์ล่มสลายลงในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 นักปราชญ์ไบเซนไทน์หลายคนได้หลบหนีไปอิตาลี พวกเขาได้นำความรู้วรรณคดีของกรีกยุคคลาสสิกและโรมันไปด้วย วรรณกรรมนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของลัทธิมนุษยนิยมซึ่งเป็นวิธีคิดที่มุ่งเน้นมนุษย์และศักยภาพที่มุ่งความสำเร็จของมนุษย์ ในเวลาเดียวกันสิ่งประดิษฐ์แท่นพิมพ์ก็ช่วยในการเผยแพร่แนวความคิดมนุษยนิยมไปทั่วยุโรป นักวิชาการยุโรปก็เริ่มตั้งคำถามกับการเรียนรู้ยุคคลาสสิก หลังจากนั้นไม่นาน จิตวิญญาณแห่งการสำรวจแนวใหม่ก็ปรากฏขึ้นในยุโรป
การปฏิวัติด้านงานศิลปะในช่วงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยายังก่อผลกระทบแก่นักวิทยาศาสตร์  ศิลปินต้องการแสดงวิชาของพวกเขาในทางที่มีเหตุผล การจะทำได้เช่นนี้ พวกเขาได้สังเกตมนุษย์และสัตว์อย่างใกล้ชิด บางคนถึงกับชำแหละศพมนุษย์ การศึกษาอย่างรอบคอบนี้นำไปสู่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ได้ถูกต้องมากขึ้น
ในช่วงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ชาวยุโรปมองหาเส้นทางใหม่เพื่อไปยังเอเชีย การเดินทางเหล่านี้ได้เพิ่มความรู้เกี่ยวกับสัณฐาน ขนาดและสภาพอากาศของโลก ความรู้ใหม่นี้บางส่วนท้าทายแนวความคิดยุคคลาสสิก

 วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้า

          นักปราชญ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เมื่อได้รับอิทธิพลจากลัทธิมนุษยนิยม ก็เริ่มตั้งคำถามแนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ยุคคลาสสิกและความเชื่อของศาสนาคริสต์ คำถามเกี่ยวกับทฤษฎีเก่าเป็นที่รู้จักกันว่า การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (the Scientific Revolution) การเปลี่ยนแปลงแนวความคิดนี้นำไปสู่​​การปะทุขึ้นของความคิดใหม่ ๆ

สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 การสำรวจทางวิทยาศาสตร์ได้ถูกก็ง่ายขึ้นโดยการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือใหม่ ๆ กล้องจุลทรรศน์ เครื่องวัดอุณหภูมิ (เทอร์โมมิเตอร์) และเครื่องวัดความกดอากาศ (บาร์รอมิเตอร์) ก็อยู่ในบรรดาสิ่งประดิษฐ์เหล่านั้น
ในคริสต์ศตวรรษที่ 1670 นักวิทยาศาสตร์สมัครเล่นชาวดัตช์ ชื่อ อังตวน ฟาน เลเวนฮุค (Anton Van Leeuwenhoek - LAY•vuhn•HUK) ได้สร้างกล้องจุลทรรศน์ หลอดทองเหลืองนี้มีเลนส์กระจกโค้งขยายวัตถุได้ระหว่างระยะด 50 เท่า และ 300 เท่า ด้วยการใช้กล้องจุลทรรศน์ ฟานเลเวนฮุกได้สังเกตแบคทีเรียหรือวัตถุที่เคลื่อนไหวเล็ก ๆ ในของเหลว นอกจากนี้เขายังตั้งข้อสังเกตการไหลของเลือดผ่านเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ ที่เรียกว่า capillaries (เส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ)
ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ชื่อ กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1564-1642) คิดค้นเครื่องวัดอุณหภูมิ (Thermometer) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ เครื่องวัดอุณหภูมิของกาลิเลโอเป็นหลอดแก้วเปิดมีหลอดไฟบรรจุน้ำไว้ด้านล่าง น้ำเพิ่มขึ้นในหลอดขณะร้อนและลดลงในขณะเย็น ประมาณ 100 ปีต่อมาในคริสต์ศักราช 1714 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ กาเบรียล แดเนียล ฟาเรนไฮต์ (Gabriel Daniel Fahrenheit FAR•uhn•HYT) ได้สร้างเครื่องวัดอุณหภูมิปรอทเครื่องแรกขึ้น และยังได้นำเสนอระบบการวัดอุณหภูมิอย่างเป็นทางการระบบแรกนั้น มาตราส่วนการวัดของฟาเรนไฮต์แสดงจุดเยือกแข็งอุณหภูมิ 32° และจุดเดือดที่ 212°
ในคริสต์ศักราช 1643 เพื่อนกับผู้สนับสนุกาลิเลโอ ชื่อ เอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี (Evangelista Torricelli - TAWR•ur•CHEHL•ee) ได้คิดค้นบารอมิเตอร์ เครื่องมือนี้วัดความดันของชั้นบรรยากาศโลก ต่อมานักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ใช้บารอมิเตอร์พยากรณ์สภาพอากาศ
กล้องโทรทัศน์ของกาลิเลโอ
ภาพวาดกาลิเลโอแสดงวิธีใช้กล้องโทรทัศน์ให้กับผู้ปกครองเมืองเวนิซ
จักรวาลที่ดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง (Heliocentric Universe) ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ ชื่อ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus koh•PUR•nuh•kuhs) ได้ท้าทายทฤษฎีที่มีโลกเป็นจุดศูนย์กลางจักรวาลของปโตเลมี โคเปอร์นิคัสให้เหตุผลว่า ดาวฤกษ์ โลกและดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ โคจรหรือเคลื่อนที่ไปรอบดวงอาทิตย์ที่หยุดอยู่กับที่ ทัศนะเกี่ยวกับจักรวาลของโคเปอร์นิคัสเป็นที่รู้จักกันว่า ทฤษฎีที่มีดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง heliocentric theory) เป็นความเชื่อว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล
เกือบ 100 ปีต่อมา นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ โยฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler) ได้ใช้ทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสมาพัฒนาต่อและทำให้ถูกต้องมากขึ้น เคปเลอร์ใช้กฎทางคณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์ว่าดาวเคราะห์เคลื่อนที่ไปรอบดวงอาทิตย์จริง กฎหนึ่งแสดงให้เห็นว่าดาวเคราะห์โคจรเป็นรูปวงรีและไม่ได้โคจรเป็นวงกลมตามที่โคเปอร์นิคัสเชื่อ รูปโคจรวงรีมีรูปร่างเหมือนไข่

กาลิเลโอท้าทายความเชื่อที่ยอมรับกันทั่วไป กาลิเลโอได้สร้างความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างซึ่งท้าทายแนวความคิดยุคคลาสสิก หลังจากที่ทราบว่าผู้ผลิตเลนส์ชาวดัตช์ได้สร้างเครื่องมือที่สามารถขยายวัตถุได้ไกล กาลิเลโอก็สร้างกล้องโทรทรรศน์ของเขาเอง ข้อสังเกตที่เขาสังเกตเห็นอย่างชัดเจนด้วยกล้องโทรทรรศน์ได้สนับสนุนความคิดของโคเปอร์นิคัส อย่างไรก็ตาม บทสรุปของเขาได้นำเขาไปสู่ความขัดแย้งกับคริสตจักร ทัศนะของโคเปอร์นิคัสขัดแย้งกับความเชื่อของคริสตจักรที่กล่าวว่าโลกเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาลไม่ใช่ดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางอย่างเป็นทางการ  เป็นผลให้เหล่าผู้นำคริสตจักรประณามกาลิเลโอ และบังคับให้กาลิเลโอปฏิเสธการค้นพบของตนเองต่อสาธารณชน แต่กาลิเลโอรู้ว่าเขาถูกต้องและนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ก็ถูกต้องเหมือนกัน

กฎแห่งจักรวาลของนิวตัน ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton)  ได้รวบรวมแนวความคิดของโคเปอร์นิคัส เคปเลอร์และกาลิเลโอมาเป็นทฤษฎีหนึ่งเดียว ทฤษฎีนั้นระบุว่าวัตถุทางกายภาพทั้งหมดรับผลกระทบจากแรงโน้มถ่วงเช่นเดียวกัน พลังธรรมชาตินี้มีแนวโน้มในการดึงวัตถุเข้าหากัน แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่ทำให้ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้คนไม่ให้ลอยออกจากพื้นผิวโลกไปในอวกาศ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงกระทำต่อวัตถุทั่วทั้งจักรวาล นิวตันจึงเรียกทฤษฎีของตนเองว่า กฎแรงโน้มถ่วงแห่งจักรวาล (law of universal gravitation)
เซอร์ไอแซก  นิวตัน
เซอร์ไอแซก  นิวตัน นอกจากจะค้นพบแรงโน้มถ่วงแล้ว ยังสนใจในวิทยาศาสตร์เกี่ยวแสงและสายตา
เขาเป็นผู้ค้นพบแสงที่สร้างสีสรรค์ให้กับรุ้งกินน้ำ
การค้นพบในด้านการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์บางคนพยายามเข้าใจจักรวาล  คนอื่น ๆ ต้องการจะรู้ว่าร่างกายมนุษย์ทำงานอย่างไร ในคริสต์ศักราช 1628 อายุรแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ วิลเลียม ฮาร์วีย์ (William Harvey) ได้ตีพิมพ์คำอธิบายที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีการที่เลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย และวางรากฐานผลการวิจัยในการผ่าตัดร่างกายมนุษย์ที่เขาได้ดำเนินการมา ข้อสังเกตของเขาแสดงให้เห็นว่าหัวใจปั๊มเลือดไปทั่วร่างกายของสิ่งมีชีวิตไม่ใช่ตับตามที่กาเลนเชื่อ

 วิธีการทางวิทยาศาสตร์

          ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นักปรัชญาสองคน คือ เรอเน เดการ์ต (René Descartes - day•KAHRT) และฟรานซิส เบคอน(Francis Bacon) มีผลกระทบอย่างมากเกี่ยวกับวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาโลก

เดการ์ตและเบคอน  ชาวฝรั่งเศส ชื่อ เรอเน เดการ์ต (René Descartes) เชื่อว่าแนวความคิดทุก ๆ เรื่องควรจะตั้งข้อสงสัยจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ด้วยเหตุผล เดการ์ตวางรากฐานวิธีการของเขาด้วยคำพูดง่าย ๆ "ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงมีอยู่ (I think, therefor I am." เขาแย้งว่าพระเจ้าทรงสร้างความจริงสองอย่าง อันแรกคือความจริงทางกายภาพ อีกอันหนึ่งคือจิตใจมนุษย์ เดการ์ตอ้างว่าคนสามารถใช้จิตใจของตนเองเข้าใจโลกทางกายภาพได้
ชาวอังกฤษ ชื่อ เซอร์ฟรานซิส เบคอนยังเชื่อในการใช้ความคิดที่มีเหตุผลด้วย อย่างไรก็ตาม เบคอนรู้สึกว่านักวิทยาศาสตร์ควรใช้การทดลองและการสังเกตมากกว่าเหตุผลบริสุทธิ์ในการเข้าใจโลก
------------------------------
ผู้สร้างประวัติศาสตร์
เซอร์ฟรานซิส เบคอน (Sir Francis Bacon – มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1561–1626)
เซอร์ฟรานซิส เบคอน
เซอร์ฟรานซิส เบคอน
วิทยาศาสตร์เป็นงานอดิเรกสำหรับฟรานซิส เบคอน เขาเป็นนักการเมือง เบคอนต้องการรวมความคิดที่มีเหตุผลในทางการเมืองและวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน งานเขียนของเขาช่วยให้ระบบกฎหมายอังกฤษกำหนดมาตรฐานโลกสำหรับความเป็นธรรม เบคอนอยู่ในจำนวนคนแรกที่แสดงให้เห็นว่า ลัทธิเหตุผลนิยมทำงานในการปกครองเช่นเดียวกับในวิทยาศาสตร์
เบคอนก็ตัดสินใจเดินตามความรักการทดลองวิทยาศาสตร์ของตนเองถึงแม้ว่ามันจะฆ่าเขา  ในที่สุดก็ทำได้ เบคอนป่วยและเสียชีวิตหลังจากการทดลองทฤษฎีที่ว่าหิมะสามารถนำมาใช้หยุดร่างกายไม่ให้เน่าเปื่อยได้ เขายัดหิมะในตัวไก่ แต่เขาเป็นหวัดในขณะดำเนินการ  ความเย็นกลายเป็นโรคหลอดลมอักเสบและเขาก็ตายในสัปดาห์ต่อม
------------------------------
           วิธีการที่มีเหตุผลของเบคอนวางรากฐานให้กับสิ่งที่รู้จักกันในทุกวันนี้ว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์มีขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย การสังเกต การทดลอง การวิเคราะห์และการประเมินผล (ดังแผนภูมิ)

หลักการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ แนวความคิดของเดการ์ตและเบคอนรู้จักกันว่า หลักการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17  อิทธิพลของหลักการใช้เหตุผลวิทยาศาสตร์ ได้เริ่มลดอำนาจของคริสตจักรลง ทำไมจึงเกิดการณ์นี้ขึ้น? หลักการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์กระตุ้นให้ผู้คนคิดถึงตัวเองแทนที่จะพึ่งอำนาจคริสตจักร
นักคิดทางการเมืองบางพวกได้นำหลักการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการปกครอง ตัวอย่างเช่น นักคิดทางการเมือง ชื่อ จอห์น ล็อก (John Locke) เชื่อว่าผู้คนมีความสามารถทางธรรมชาติในการรับผิดชอบกิจการของตัวเอง เขามอง ความสามารถนี้ในฐานเป็นกฎธรรมชาติหรือความถูกต้อง ความเชื่อดังกล่าวปลูกเมล็ดพันธุ์ของระบอบประชาธิปไตยซึ่งในไม่ช้าก็พัฒนาไปในประเทศต่าง ๆ เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา

ยุคแห่งการสำรวจ
โปรตุเกสเป็นผู้นำด้านการสำรวจ
          นับตั้งแต่ยุคกลางเป็นต้นมา  ชาวยุโรปต้องการสินค้าหรูหรา เช่น ผ้าไหมและเครื่องเทศจากเอเชีย ในช่วงนี้ เหล่าพ่อค้าชาวอิตาลีและชาวมุสลิมควบคุมการค้าขายทางบกระหว่างยุโรปและเอเชีย เหล่าพ่อค้าจากหลายประเทศ เช่น โปรตุเกส สเปน อังกฤษและฝรั่งเศส ต้องการมีส่วนร่วมในการค้าขายนี้ เพื่อการนี้ พวกเขาจึงจำเป็นต้องค้นหาเส้นทางทางทะเลเพื่อไปยังเอเชีย
นาฬิกาดาว
นักเดินเรือสามารถคำนวณเส้นรุ้งได้ในขณะอยู่ในทะเล
ด้วยการใช้นาฬิกาดาววัดความสูงของดาวเหนือในท้องฟ้า
เฮนรี (Henry) นักสำรวจทางทะเล  เหล่าพ่อค้าชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปพวกแรกที่ติดต่อค้าขายทางทะเลกับเอเชีย ที่ทำเช่นนี้ได้เพราะมีผู้ปกครองสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง คือ เจ้าชายเฮนรี โอรสของกษัตริย์แห่งโปรตุเกส ทรงเป็นผู้สนับสนุนการสำรวจอย่างเข้มแข็ง โดยการสร้างโรงเรียนฝึกหัดคนเขียนแผนที่ นักสำรวจทางทะเล และช่างต่อเรือเดินทะเล (หรือเดินสมุทร) และยังทรงสนับสนุนการเดินทางสำรวจอีกด้วย (คนที่สนับสนุน (Sponsor) คือ ผู้ที่ให้การสนับสนุนด้านเงินในการดำเนินกิจกรรม เช่น การเดินทาง เป็นต้น) แม้ว่าเจ้าชายเฮนรีไม่ค่อยได้เดินทางไปสำรวจด้วยพระองค์เอง แต่พระองค์ก็รู้จักกันว่า “เป็นนักสำรวจทางทะเล (the Navigator)”
โรงเรียนของเจ้าชายเฮนรี
ป้อมปราการแห่งเมืองซาเกรสปลายสุดทางตะวันตกเฉียงใต้ของโปรตุเกส
น่าจะเป็นที่ตั้งของโรงเรียนฝึกการเดินเรือของเจ้าชายเฮนรี
เทคโนโลยีและการสำรวจ ในโรงเรียนของเจ้าชายเฮนรีสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขึ้นเพื่อสนับสนุนการสำรวจของชาวโปรตุเกส ในโรงเรียนนั้นช่างต่อเรือเดินทะเลต่อเรือใบขนาดเล็ก (caravel - KARuhVEHL) ซึ่งเป็นเรือที่ออกแบบให้เดินทางได้ระยะไกลสำเร็จ เรือใบขนาดเล็กมีใบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสใช้สำหรับเรือของชาวยุโรปและใบสามเหลี่ยมใช้สำหรับเรือของชาวอาหรับ ใบสี่เหลี่ยมให้พลังแก่เรือและใบสามเหลี่ยมทำให้เรือเลี้ยวได้เร็ว
นักเดินเรือชาวโปรตุเกสได้ยืมอุปกรณ์มาจากวัฒนธรรมประเทศอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ยืมเข็มทิศซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ของจีนมาเป็นเครื่องนำทาง ใช้เครื่องมือดาราศาสตร์โบราณใช้หาตำแหน่งดวงดาวในอวกาศ (astrolabe) ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ของกรีกโบราณและชาวอาหรับนำมาปรับปรุง เครื่องมือดาราศาสตร์โบราณใช้หาตำแหน่งดวงดาวในอวกาศวัดมุมตำแหน่งดาวฤกษ์บนท้องฟ้าช่วยให้นักเดินทางเรือหาตำแหน่งเส้นรุ้ง หรือเส้นศูนย์สูตรของโลกที่มีระยะห่างจากขั้วโลกเหนือและใต้เท่ากัน
แผนที่การเดินทางสำรวจของโปรตุเกส
แผนที่การเดินทางสำรวจของโปรตุเกส  ค.ศ. 1418 - 1498
การเดินทางมาถึงอินเดีย ในช่วงที่เจ้าชายเฮนรี่สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1460 ชาวโปรตุเกสก็ได้ตั้งที่มั่นทางการค้าขายตามแนวฝั่งตะวันตกของแอฟริกาเรียบร้อยแล้ว โดยได้พัฒนาผลกำไรจากการค้าขายเป็นทอง งา และทาส ในไม่ช้าพวกโปรตุเกสก็มุ่งหน้าไปไกลกว่าแอฟริกา
ใน ค.ศ. 1488 นักสำรวจชาวโปรตุเกส ชื่อ บาร์ตูลูเมว ดีอัช (Bartolomeu Dias) เดินทางอ้อมปลายแหลมทางตอนใต้ของแอฟริกา แล้วก็แล่นเรือขึ้นไปทางฝั่งตะวันออกของแอฟริกาก่อนจะกลับบ้านเกิด วัชกู ดา กามา (Vasco da Gama) ขยายเส้นทางของดิอัซ โดยการแล่นเรือไปตลอดฝั่งตะวันออกจนถึงอินเดียใน ค.ศ. 1498 สองสามปีต่อมา ชาวโปรตุเกสก็ตั้งที่มั่นการค้าขายในอินเดียได้ แล้วก็เดินทางต่อไปยังตะวันออก ในที่สุดชาวโปรตุเกสก็ตั้งศูนย์กลางการค้าขายขึ้นเป็นอันมากในหมู่เกาะเครื่องเทศ (Spice Island –หมู่เกาะโมลุกกะซึ่งปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย
การค้าขายทางบกตั้งแต่เอเชียถึงยุโรปมีแนวโน้มว่าจะเป็นการสิ้นเปลืองมาก เนื่องจากสิ้นค้าถ่ายเข้าถ่ายออกมากมายหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม การค้าขายทางทะเลก็สิ้นเปลืองน้อยกว่า เนื่องจากสินค้าไม่ต้องขนถ่ายบ่อยครั้ง เป็นผลให้ชาวโปรตุเกสตีราคาเครื่องเทศถูกลง บางครั้งบางคราว โปรตุเกสก็ยึดครองการค้าขายกับเอเชีย

โคลัมบัส (Columbus) เดินทางมาถึงอเมริกา
          ในขณะที่ชาวโปรตุเกสมุ่งหน้าไปทางตะวันออกเพื่อรักษาเส้นทางการค้าขาย นักเดินเรือชาวอิตาลี ชื่อ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ก็มุ่งหน้าไปทางตะวันตกด้วยหวังว่าจะพบเส้นทางทางตะวันตกที่มุ่งสู่แหล่งที่อุดมสมบูรณ์คือเอเชีย

การเดินทางไกลครั้งแรกของโคลัมบัส  ด้วยการศึกษาแผนที่และบันทึกที่มีอยู่ โคลัมบัสก็รู้ว่าโลกกลม อาศัยความรู้นี้ โคลัมบัสจึงคิดว่าตนเองน่าจะเดินทางถึงเอเชียในไม่ช้าถ้าเขาแล่นเรือไปทางตะวันตกแทนการเดินทางไปทางทิศตะวันอกอ้อมแอฟริกา อย่างไรก็ตาม โคลัมบัสคำนวณระยะทางรอบโลกผิดพลาด เขาประมาณว่าระยะทางนี้อยู่ที่เศษ 3 ส่วน 4 เท่านั้น ซึ่งไกลพอ ๆ กับความเป็นจริง (ไกลกว่าที่เดินทางไปทางตะวันออกเสียอีก)
สำหรับผู้คนเป็นอันมาก แนวความคิดของโคลัมบัสที่แล่นเรือไปทางตะวันตกมุ่งสู่ตะวันออกดูเป็นเรื่องประหลาดเล็กน้อย ชาวโปรตุเกสปฏิเสธแนวความคิดนี้ ชอบค้นหาเส้นทางไปทางตะวันออกมุ่งสู่เอเชียมากกว่า แม้สเปนซึ่งกระหายความสำเร็จด้านการค้าขายก็ยังคลางแคลงใจอยู่ อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น 6 ปี โคลัมบัสก็ทำให้พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ (Ferdinand) กษัตริย์สเปนและพระนางอิซาเบลลา (Isabella) มั่นพระทัยในการสนับสนุนแผนการของเขา
ในต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1492 โคลัมบัสเดินทางออกจากสเปนด้วยเรือใบขนาดเล็กสามลำพร้อมกับชายประมาณ 90 คน  หลังจากนั้นเกือบ 10 สัปดาห์ ณ ท้องทะเล ลูกเรือของโคลัมบัสก็เกิดอาการกระสับกระส่าย เนื่องจากไม่พบแผ่นดินมาเป็นเวลามากกว่า 1 เดือนและต้องการจะกลับบ้าน โคลัมบัสจึงกล่อมพวกเขาให้เดินทางต่อไป ครั้นแล้วในวันที่ 12 เดือนตุลาคม ลูกเรือก็ตะโกนว่าTierra, Tierra (แผ่นดิน แผ่นดิน)”
โคลัมบัสจอดเรือที่เกาะฮิสปันโยลา
ภาพแกะสลักนี้ทำขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่  15
ในภาพ โคลัมบัสจอดเรือใกล้หมู่เกาะฮิสปันโยลาในการเดินเรือครั้งแรก
ความผิดพลาดของโคลัมบัส  โคลัมบัสคิดว่าแผ่นดินนี้เป็นอินเดีย และเรียกผู้คน (พื้นเมือง) ที่มาทักทายเขากับลูกเรือของเขาว่าIndios (ชาวอินเดีย) เป็นความผิดพลาดอีกครั้งหนึ่งของโคลัมบัส ความจริงโคลัมบัสจอดเรือ ณ หมู่เกาะในทะเลแคริบเบียนและสำรวจหมู่เกาะอื่น ๆ แต่ไม่ได้ข้ามมาขายสินค้าใด ๆ แม้กระนั้น เขาก็ตื่นเต้นที่ค้นพบสิ่งที่ตัวเองคิดว่าเส้นทางไปสู่เอเชีย โคลัมบัสจึงตั้งถิ่นฐานบนหมู่เกาะ Hispaniola แล้วก็แล่นเรือกลับไปยังสเปน ใน ค.ศ. 1504 นักสำรวจชาวอิตาลี ชื่อ อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci) เป็นคนแรกที่พิสูจน์ว่าแผ่นดินนี้ไม่ใช่เอเชีย แต่เป็นทวีปใหม่
----------------------------
แหล่งที่มาปฐมภูมิ
ไซต์ออฟอิซาเบลลา
ไซท์ออฟอิซาเบลลา สถานที่จอดเรือครั้งแรกของโคลัมบัส
ภูมิหลัง Diego Alvarez Chanca จากเมืองเซวิลล์ในสเปน มีหน้าที่เป็นศัลยแพทย์ในการเดินทางครั้งที่สองของโคลัมบัสไปยังอินดีสตะวันตก (West Indies) ได้เขียนเล่าประสบการณ์ของตนเองเป็นลายลักษณ์อักษร ณ สภาเมืองเซวิลล์ จากข้อความที่ตัดตอนมา เขาได้อธิบายสัตว์ที่เขาเห็นบนหมู่เกาะฮิสปันโยลา (Hispaniola)
 “...ไม่มีสัตว์สี่ขาที่เคยเห็นมาบนเกาะนี้หรือเกาะใด ๆ เลยนอกจากสุนัขที่มีสีหลากหลายเหมือนกับสุนัขในบ้านเมืองเรา...และสัตว์เล็ก ๆ บางชนิดมีสีและขนคล้ายกระต่าย....มีหางยาว และมีเท้าคล้ายเท้าของหนู สัตว์เหล่านี้ปีนป่ายขึ้นบนต้นไม้....
...มีงูเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง แต่ไม่มาก...ลูกเรือของเราเห็นสัตว์เลื้อยคลานตัวมหึมา ซึ่งกล่าวกันว่าตัวกลมใหญ่พอ ๆ กับลูกวัว มีหางยาวพอ ๆ กับหอก ซึ่ง (ชาวเกาะ) ออกไปฆ่า แต่มันตัวค่อนข้างใหญ่และเทอะทะคลานลงไปในทะเลเพื่อหนีการไล่จับ...”
----------------------------
สนธิสัญญาทอร์เดซีลญาส กษัตริย์เฟอร์ดินานและราชินีอิซาเบลล่ามีพระประสงค์จะสร้างความมั่นใจว่า โปรตุเกส ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้าขายจะไม่ได้รับผลประโยชน์จากการเดินทางของโคลัมบัส ชาวโปรตุเกสเกรงว่าถ้าโคลัมบัสค้นพบเส้นทางไปสู่เอเชีย สเปนอาจอ้างสิทธิเหนือดินแดนที่โปรตุเกสถือสิทธิเรียบร้อยแล้ว ใน ค.ศ. 1494 สเปนและโปรตุเกสจึงลงนามในสนธิสัญญาแห่งทอร์เดซีลญาส (Treaty of Tordesillas - TAWR-—day—-SEEL—-yahs) สนธิสัญญานี้ลากเส้นจินตนาการรอบโลกจากเหนือถึงใต้ สเปนอาจจะอ้างสิทธิเหนือดินแดนทางทิศตะวันตกทั้งหมดของเส้น ส่วนโปรตุเกสอ้างสิทธิเหนือดินแดนทางทิศตะวันออกทั้งหมด สนธิสัญญาให้โปรตุเกสควบคุมดินแดนแห่งหนึ่งในทวีปอเมกา คือ ประเทศบราซิลในปัจจบัน

การเดินทางครั้งต่อ ๆ มา กษัตริย์เฟอร์ดินานและราชินีอิซาเบลล่าทรงพอพระทัยกับผลการเดินทางครั้งแรกของโคลัมบัส ทั้งสองพระองค์ได้ส่งโคลัมบัสเดินทางเพิ่มอีก 3 ครั้งไปทางตะวันตกเพื่อค้นหาอินเดียแผ่นดินใหญ่ แม้ว่าโคลัมบัสจะจอดเรือบนหมู่เกาะมากมาย เขาก็ไม่มีข้อพิสูจน์ว่าตัวเองอยู่ในเอเชีย ในที่สุด กษัตริย์เฟอร์ดินานและราชินีอิซาเบลล่าก็หมดความอดทนกับโคลัมบัส โคลัมบัสได้เสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1506 เป็นบุรุษที่ขมขื่นและโดดเดี่ยว จนกระทั่งวันตายของเขา เขาก็ยังยืนว่าตัวเองเดินทางไปถึงอินเดียแล้ว อย่างไรก็ตาม ในไม่ช้าผู้คนก็ตระหนักว่าโคลัมบัสได้ค้นพบดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลซึ่งแต่ก่อนไม่มีใครรู้จัก (คือทวีปอเมริกา)

การสำรวจตามหลังโคลัมบัส

          หลังจากการเดินทางของโคลัมบัส หลายประเทศได้ให้การสนับสนุนการเดินทางสำรวจไปยังอเมริกา นักสำรวจหลายคนเหมือนกับโคลัมบัสค้นหาเส้นทางเพื่อไปยังเอเชียให้เร็วขึ้น คนอื่น ๆ ค้นหาแต่ความมั่งคั่ง

การเดินทางรอบโลก  ใน ค.ศ. 1519 สเปนได้ให้การสนับสนุนการเดินทางมีกะลาสีเรือชาวโปรตุเกสชื่อ เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน(Ferdinand Magellan)  เป็นหัวหน้า โดยเดินทางออกจากสเปนพร้อมเรือ 5 ลำและลูกเรือประมาณ 240 คน เป้าหมายคือการเดินทางรอบโลก หรือไปทั่วโลก จนถึงเวลานี้ก็ไม่มีใครประสบความสำเร็จด้านนี้เลย
มาเจลลันแล่นเรือรอบใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้และไปสู่ท้องน้ำที่กว้างใหญ่ไพศาลของมหาสมุทรแปซิฟิก เรือแล่นไปเป็นเวลาหลายเดือนโดยไม่ได้เห็นแผ่นดิน ในที่สุดก็มาถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ณ ที่นั่น มาเจลลันถูกฆ่าตายในสงครามท้องถิ่น ลูกเรือของเขาภายใต้การนำของฮวน เซบาสเตียน เดล คาโน (Juan Sebastián del Cano) ก็เดินทางต่อไปยังหมู่เกาะเครื่องเทศและแล้วก็ถึงบ้านเกิดเมืองนอน หลังจากการเดินทางเกือบสามปี มีเพียงเรือลำเดียวและลูกเรือคณะเดิม 18 คนเท่านั้นที่กลับไปถึงสเปนได้ การเดินทางรอบโลกประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ก็เป็นความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจ ระวางบรรทุกสินค้าของเรือก็เต็มไปด้วยเครื่องเทศจากเอเชีย
แผนที่การเดินทางรอบโลกของมาเจลลัน
แผนที่การเดินทางรอบโลกของมาเจลลัน  
เปรียบเทียบวิธีการเขียนแผนที่
การเขียนแผนที่ในยุคกลางยึดเอาความรู้และความแบบโบราณเป็นหลัก แผนที่ด้านซ้ายมือ เขียนใน ค.ศ. 1452 มีเยรูซาเล็มเป็นศูนย์กลางแสดงเพียง 3 ทวีป คือ เอเชีย ยุโรปและแอฟริกา ทิศตะวันออกอยู่ด้านบนของแผนที่ ด้านขวามือ เป็นแผนที่ทวีปแอฟริกา เขียนขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1595 แสดงตำแหน่งทวีปได้ถูกต้อง
เปรียบเทียบการเขียนแผนที่
ยุคกลาง
            ยุคแห่งการสำรวจ
เขียนขึ้นโดยอาศัยแหล่งความรู้จากยุคคลาสสิก
เขียนขึ้นจากการสำรวจ
สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของคริสตจักร
สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการเขียนแผนที่
ทิศตะวันออกจะอยู่ด้านบนของแผนที่
ทิศเหนือจะอยู่ด้านบนของแผนที่
ใช้ประโยชน์สำหรับการเดินเรือไม่ได้
เขียนขึ้นจากการประสบการณ์การเดินเรือ
แผนที่โลกของยุโปรสมัยยุคกลาง ค.ศ. 1452
แผนที่โลกของยุโปรสมัยยุคกลาง ค.ศ. 1452
แผนที่แอฟริกา ค.ศ. 1595
แผนที่แอฟริกา ค.ศ. 1595

เหล่าผู้พิชิตชาวสเปน  ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจชาวสเปนเดินทางถึงทวีปอเมริกาเพื่อต้องการค้นหาทองคำ เอร์นัน เกอร์เตส (Hernán Cortés) พิชิตจักรวรรดิแอซเท็ก (Aztec) อันอุดมสมบูรณ์ ภายใน 20 ปี สเปนได้ครอบครองเม็กซิโกในปัจจุบันและอเมริกากลางทั้งหมด ชาวสเปนได้เอาผู้คนในภูมิภาคนั้นไปเป็นทาสจำนวนมาก                 หลังจากนั้นไม่ช้า ชาวสเปนอีกคนหนึ่ง ชื่อ ฟรันซิสโก ปีซาร์โร (Francisco Pizarro) ก็นำพรรคพวกเข้าโจมตีเผ่าอินคาในอเมริกาใต้ ฆ่าจักรพรรดิตาย ในไม่ช้าเผ่าอินคาก็ล่มสลาย ประมาณ ค.ศ. 1535 ชาวสเปนก็ควบคุมดินแดนอินคาส่วนใหญ่ได้ ชาวอินคาจำนวนมากก็ตกเป็นแรงงานทาสในเหมืองและไร่นาของชาวสเปน

การสำรวจไกลออก  ความต้องการทองคำชักนำนักสำรวจชาวสเปนขึ้นไปทางตอนเหนือ ใน ค.ศ. 1513  ฮวน ปอนเซ เด เลออง (Juan Ponce de León) จอดเรือที่ฝั่งทะเลที่ปัจจุบันนี้เป็นฟลอริดา และอ้างกรรมสิทธิ์เป็นของสเปน ตั้งแต่ ค.ศ. 1539 – 1542 เอร์นันโด เด ซาโต (Hernando de Soto) ได้สำรวจดินแดนในบริเวณที่เป็นตอนใต้ของสหรัฐในปัจจุบัน ใน ค.ศ. 1540 ฟรันซิสโก โคโรนาโด (Fracisco Coronado) เริ่มสำรวจบริเวณที่เป็นด้านตะวันตกของสหรัฐในปัจจุบัน ไม่มีใครพบทองคำเลย
ชาวอังกฤษและชาวฝรั่งเศสก็พยายามหาทางลัดไปยังเอเชียอย่างหนัก โดยการสนับสนุนคณะนักสำรวจให้ค้นหาทางผ่านด้านตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Passage – แถวมหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งเรียกกันว่า “เส้นทางสายน้ำแข็ง” – ผู้แปล) ซึ่งเป็นเส้นทางน้ำในตำนานผ่านตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือไปยังเอเชีย ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1490 นักเดินเรือชาวอิตาลี ชื่อ จอห์น แคบอต (John Cabot) เป็นผู้นำการเดินทางสองครั้งให้อังกฤษ ได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือแผ่นดินฝั่งทะเลซึ่งปัจจุบันคือด้านตะวันออกของแคนาดาและสหรัฐให้กับอังกฤษ อย่างไรก็ตาม เขาก็ไม่พบทางผ่านไปยังเอเชีย
ใน ค.ศ. 1524  จิโอวานนี  ดา เวอร์ราซาโน (Giovanni da Verrazano - VEHR•uh•ZAH•noh) นักเดินเรือชาวอิตาลีอีกคนหนึ่งก็ได้ค้นหาด่านด้านตะวันตกเฉียงเหนือให้กับฝรั่งเศส แม้จะล้มเหลวในการค้นหาเส้นทางไปสู่เอเชีย ก็ได้สำรวจบริเวณที่เป็นอ่าวนิวยอร์คในปัจจุบัน (New York harbor)

การเขียนแผนที่และการมองโลกแบบใหม่  การสำรวจแต่ละครั้งช่วยให้มีการเปลี่ยนมุมมองโลกแก่ชาวยุโรป ก่อนโคลัมบัสเดินทาง ชาวยุโรปมองโลกไปที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณดินแดนรอบ ๆ หลังจากการสำรวจของโคลัมบัส ชาวยุโรปก็มองโลกไปด้านตะวันตกตั้งแต่ทวีปอเมริกาไปถึงหมู่เกาะเครื่องเทศ (หมู่เกาะโมลุกกะหรืออินโดนีเซียในปัจจุบัน) ในตะวันออก
สะพานเวอร์ราซาโน แนร์โรว์
สะานเวอร์ราซาโน แนร์โรว์ บริดจ์ นิวยอร์ก
สร้างเป็นเกียรติแก่นักสำรวจชาวอิตาลี เสร็จเมือ ค.ศ. 1964
นักเขียนแผนที่มีบทบาทเป็นผู้นำในด้านการเปลี่ยนแปลงมุมมองโลก แผนที่ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 เริ่มแสดงทวีปใหม่สองทวีป (คือ อเมริกาเหนือ-ใต้) นักเขียนแผนที่คนหนึ่งตั้งชื่อทวีปเหล่านี้ว่า “อเมริกา” ตามชื่ออเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci -vehs•POO•chee) นักสำรวจชาวอิตาลีที่เป็นหนึ่งในนักสำรวจรุ่นแรกของโลกและเขียนแผนที่ฝั่งทะเลของภูมิภาคนี้ (แต่ผู้ที่ได้ชื่อว่าค้นพบทวีปอเมริกา คือ โคลัมบัส ตามที่เราเรียนมา) รายชื่อสถานที่ที่เขาสำรวจได้รับการตีพิมพ์โดยใช้ชื่อว่า “โลกใหม่” (New World)

-------------------------------------------
การดำเนินชีวิต
การดำเนินชีวิตบนเรือ
การดำเนินชีวิตบนเรือ

           ถ้าเราเป็นนักสำรวจชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 15 บางทีเราอาจจะดำเนินชีวิตคล้ายภาพด้านบน การดำเนินชีวิตในท้องทะเลในยุคนี้ไม่ง่ายเลย บ่อยครั้งที่การเดินทางใช้เวลาเป็นแรมเดือน บางครั้งก็เป็นปี เศษหนึ่งส่วนสี่ในการดำเนินชีวิตมีแต่อุปสรรค อาหารไม่มีคุณภาพและก็ไม่เพียงพอบ่อยครั้ง พายุร้ายแรงและอุบัติเหตุทางเรือก็คุกคามอยู่เรื่อย ๆ
ตำแหน่ง A. เรือสำเภา ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 เรือเดินสมุทรของชาวยุโรปส่วนมากเป็นเรือสำเภาขนาดใหญ่ ต้นแบบของเรือเดินสมุทรยาวระหว่าง 70 ฟุตและ 100 ฟุต กว้างประมาณ 20 ฟุต ควบคุมง่ายเมื่อเรือเต็มและแล่นเร็ว
ตำแหน่ง B. กัปตัน ปกติกัปตันมีห้องเล็กอยู่ท้ายเรือเป็นที่ทำงานและหนึ่งในสี่ใช้ชีวิตอยู่ในห้องนั้น กัปตันจะเก็บรักษาแผนที่ แผนภูมิ และสมุดจดรายการต่าง ๆ ไว้ที่นั่น แผนภูมิและสมุดจดรายการต่าง ๆ ที่กัปตันเก็บรักษาไว้ขณะเดินทางมักจะช่วยให้นักวาดแผนที่วาดแผนที่ได้ถูกต้องมากขึ้น
ตำแหน่ง C. การเดินเรือ นักเดินเรือจะใช้เข็มทิศคำนวณทิศทาง การคำนวณตำแหน่งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ด้วยเครื่องมือดาราศาสตร์โบราณใช้หาตำแหน่งดวงดาวในอวกาศช่วยให้กำหนดเส้นรุ้งได้ แผนที่และแผนภูมิให้ข้อมูลมากมายแก่นักเดินเรือ
ตำแหน่ง D. อาหารการกิน เรือสำเภาบางลำบรรทุกหมูและแม่ไก่เป็น ๆ มาบนดาดฟ้าเพื่อออกไข่และให้เนื้อสด ๆ แก่คนในเรือ อย่างไรก็ตาม ห้องอาหารบนเรือในวันธรรมดาประกอบไปด้วยขนมปังกรอบแข็ง เนื้อเข็ม และไวน์หรือเบียร์คุณภาพต่ำ เนื้อจะเน่าเปื่อยและขนมปังจะมีตัวหนอนเสมอ ๆ 
ตำแหน่ง D. สภาพการดำเนินชีวิต ด้านบนเรือ ปกติแล้วนักเดินเรือจะดำเนินชีวิตในสภาพที่ติดขัดมาก พวกเขาจะหาที่ว่างตรงไหนก็ได้สำหรับผูกเปลนอนหลับ เจ้าหน้าที่ที่มีสุขภาพอ่อนแอกว่านักเดินเรือเหล่าอื่นมีเพียงหนึ่งในสี่เท่านั้น

-------------------------------------------------------

ลัทธิล่าอาณานิคมและการเปลี่ยนแปลง

การแลกเปลี่ยนสินค้าและแนวความคิด

          การสำรวจของชาวยุโรปทำให้เกิดการค้าขายแบบใหม่เชื่อมต่อทวีปต่าง ๆ ในโลก การติดต่อค้าขายเหล่านี้ทำให้มีการแลกเปลี่ยนแนวความคิดและสิ้นค้ากระจายไปทั่วโลก

Columbian Exchange Columbian Exchange คือ ขบวนการเคลื่อนย้ายพืชและสัตว์ระหว่างซีกโลกตะวันออกและตะวันตกโดยพ่อค้าชาวยุโรป การแลกเปลี่ยนเริ่มขึ้นหลังจากที่โคลัมบัสเดินทางไปยังอเมริกา
ชาวยุโรปนำข้าวสาลี หัวหอม องุ่น อ้อย และส้มไปยังทวีปอเมริกา แล้วบรรทุกข้าวโพด มันฝรั่ง ฟักทองและสับปะรดจากทวีปอเมริกาโดยทางเรือ ชาวยุโรปยังนำสัตว์เลี้ยง เช่น ม้าและโรค เช่น โรคไข้ทรพิษและโรคหัดไปสู่ทวีปอเมริกาอีกด้วย ชาวพื้นเมืองอเมริกันไม่มีภูมิต้านทานโรคเหล่านี้ เป็นผลให้โรคฆ่าคนพื้นเมืองอเมริกันประมาณ 20 ล้านคน
กาแฟ
ต้นกาแฟ เป็นพืชพื้นเมือง
ของแอฟริกา ชาวยุโรปนำ
ไปยังอเมริกา บราซิลและโคลัมเบีย
ประเทศในอเมริกาใต้ นำไปผลิต
ขายทั่วโลกอีกต่อหนึ่ง

การแลกเปลี่ยนรูปแบบการค้า Columbian Exchange ก่อให้เกิดรูปแบบการค้าขายระหว่างประเทศใหม่ ๆ ขึ้น รูปแบบเหล่านี้ขึ้นอยู่กับเส้นทางการค้าทางทะเลที่ได้ถูกควบคุมส่วนใหญ่โดยชาวยุโรป
การค้าของโลกเป็นอันมากได้รับการผลักดันจากเงินที่ขุดได้ในอาณานิคมของสเปนในเม็กซิโกและอเมริกาใต้ เงินไหลออกมาจากทวีปอเมริกาไปยังทวีปยุโรปและจากนั้นก็ไปยังประเทศจีน ในทางกลับกัน สินค้าจีน เช่น ผ้าไหมและเครื่องลายครามก็หลั่งไหลกลับไปยังยุโรป เหล่าพ่อค้าชาวยุโรปยังใช้เงินซื้อเครื่องเทศจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออกและอินเดีย
        การค้าขายชนิดต่าง ๆ ได้พัฒนาระหว่างอเมริกา  ยุโรป และแอฟริกา ต้นอ้อยที่เจริญเติบโตในหมู่เกาะอินเดียตะวันตกก็มีการจัดส่งไปยังยุโรป แรงงานที่ทำงานหนักและเหน็ดเหนื่อยซึ่งจำเป็นในการผลิตต้นอ้อยหามาจากผู้คนที่เป็นทาสจากแอฟริกา สินค้าที่ผลิตราคาถูกหลั่งไหลออกมาจากยุโรปเพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทนแก่ชาวแอฟริกาที่เป็นทาส การค้าขายรูปสามเหลี่ยมนี้ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกดำเนินการมามากกว่า 300 ปี ในเวลานั้น ชาวแอฟริกาที่เป็นทาสประมาณ 10 ล้านคนถูกส่งไปยังทวีปอเมริกา

ขบวนการเคลื่อนย้ายทางวัฒนธรรม  แนวความคิดก็มีการแลกเปลี่ยนเหมือนกับการค้าขายสินค้า ตัวอย่างเช่น แนวความคิดอย่างหนึ่งที่ไปกับการสำรวจครั้งแรกจากสเปนและโปรตุเกสก็เกี่ยวกับศาสนา (คริสต์) โดยการพยายามเปลี่ยนแปลงประชากรท้องถิ่นของดินแดนต่าง ๆ ที่นักสำรวจอ้างกรรมสิทธิ์ให้มานับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ชาวคริสต์พวกใหม่เหล่านี้ก็ผสมผสานแนวความเชื่อเดิมกับแนวความเชื่อของศาสนาคริสต์ให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
อีกประหนึ่ง ชาวยุโรปจะนำแนวปฏิบัติทางวัฒนธรรมจากดินแดนอื่น ๆ เข้ามาสู่ดินแดนของตนเป็นประจำ ตัวอย่างเช่น ชาวยุโรปเป็นอันมากก็นิยมการดื่มกาแฟจากอาหรับผสมกับน้ำตาลที่ผลิตจากแรงงานทาสชาวแอฟริกันในทวีปอเมริกา
การแลกเปลี่ยนสินค้า Columbian Exchange
การแลกเปลี่ยนสินค้า Columbian Exchange
แผนที่รูปแบบการค้าขายของโลก
แผนที่รูปแบบการค้าขายของโลก  คริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16

การต่อกันเพื่อล่าอาณานิคม

          ในขณะที่การค้าขายเจริญเติบโตขึ้น ชาวยุโรปก็แข่งขันกันล่าอาณานิคมในต่างประเทศ อาณานิคมก็จัดเตรียมวัตถุดิบและตลาดไว้ให้เรียบร้อย

ปรตุเกสและสเปน การเดินทางไปทางตะวันออกของโปรตุเกสทำให้เกิดที่มั่นด้านการค้าขายในทวีปแอฟริกา อินเดีย และเอเชียตะวันออก ในทวีปอเมริกาใต้ สนธิสัญญาทอร์เดซีลญาสทำให้โปรตุเกสครอบครองบราซิล สเปนอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม สเปนก็มุ่งหน้าล่าอาณานิคมต่อไปยังทวีปอเมริกา การขุดเหมืองเงินและเหมืองทองคำในเปรูและเม็กซิโกมีผลกำไรเป็นพิเศษ

เนเธอแลนด์ ฝรั่งเศส และอังกฤษ  ชาวดัทช์มีอาณานิคมเล็ก ๆ แห่งเดียวเท่านั้นในทวีปอเมริกา คือ นิวเนเธอแลนด์ (New Netherland) อย่างไรก็ตาม พวกก็ล่าอาณานิคมเป็นอันมากในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ในที่สุด ชาวดัทช์ก็ควบคุมการค้าขายระหว่างหมู่เกาะอินเดียตะวันออกและทวีปยุโรป
ชาวฝรั่งเศสก็ปรารถนาที่จะค้าขายในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกเช่นกัน ในที่สุด ชาวฝรั่งเศสก็ก็สถาปนาด่านหน้าขึ้นในอินเดีย แม้กระนั้น ความพยายามล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสก็ประสบผลสำเร็จในทวีปอเมริกาเหนือ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ฝรั่งเศสก็สถาปนาQuebec ขึ้นในแคนาดา Quebec กลายเป็นฐานของจักรวรรดิอันใหญ่โตมโหฬาร ทอดยาวจากแคนาดาลงไปทางแม่น้ำมิสซิสซิปปีจนถึงทะเลแคริบเบียน
จากการที่ประเทศอื่น ๆ ในยุโรปแข่งขันกันล่าอาณานิคม จึงทำให้อังกฤษเกิดแรงบันดาลใจในการจัดตั้งอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ ใน ค.ศ. 1587 ชาวอังกฤษก็สถาปนาอาณานิคมขึ้นในหมู่เกาะ Roanoke ซึ่งปัจจุบันก็คือรัฐ North Carolina ปีเดียวกันนั้น เรือลำหนึ่งแล่นออกจากหมู่เกาะ Roanoke เพื่อไปส่งเสบียงให้กับอาณานิคม ในที่สุด ขณะที่เรือส่งเสบียงแล่นกลับ ใน ค.ศ. 1590 กะลาสีเรือก็พบว่าหมู่เกาะ Roanoke ถูกปล่อยทิ้ง ไม่พบว่ามีร่องรอยของเหล่านักล่าอาณานิคมหลงเหลืออยู่เลย
ใน ค.ศ. 1607 ชาวอังกฤษเริ่มล่าอาณานิคมในทวีปอเมริกาสำเร็จเป็นครั้งแรก เรียกว่า Jamestown ในรัฐ Virginia นักล่าอาณานิคมชาวอังกฤษยุคแรกประกอบด้วยนักแสวงบุญหลายคน ได้ตั้งหลักแหล่งในรัฐ Massachusetts ใน ค.ศ. 1620 เพื่อหลบหนีการข่มเหงทางศาสนาในอังกฤษ ชาวอังกฤษยังได้ตั้งด่านหน้าในทะเลแคริบเบียนและอินเดียอีกด้วย
การค้าขายเสื้อขนสัตว์
ภาพนี้ทำขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16
ในภาพพ่อค้าชาวดัชท์กำลังซื้อผ้าขนสัตว์จากชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกา

กองเรือรบขนาดใหญ่ของสเปน  การที่อังกฤษเข้ามาอยู่ในทวีปอเมริกาทำให้เกิดความขัดแย้งกับสเปน อังกฤษโจมตีลูกเรือชาวสเปนทำให้กษัตริย์ฟิลิปที่ 2  แห่งสเปน (Philip II of Spain) ทรงพิโรธ ดังนั้น ใน ค.ศ. 1588 กษัตริย์ฟิลิปที่ 2 จึงส่งกองทัพเรือ จำนวน 130 ลำ ไปต่อสู้กับอังกฤษ กองทัพเรืออังกฤษใหญ่กว่าและมีอาวุธยุทโธปกรณ์ดีกว่าก็โจมตีกองทัพเรือสเปนจนพ่ายแพ้ ความพ่ายแพ้ครั้งนั้นทำให้สเปนอ่อนแอลง อย่างไรก็ตาม สเปนก็ยังเป็นผู้นำทางอำนาจของยุโรปต่อไป เนื่องจากมีเหมืองเงินและเหมืองทองคำในทวีปอเมริกา

การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจของยุโรป

           การเจริญเติบโตของการค้าขายในต่างประเทศและความมั่งคั่งใหม่ ๆ จากอาณานิคมต่าง ๆ มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจมากมายต่อยุโรป ปัจจัยเหล่านี้ทำให้มีธุรกิจและการดำเนินการทางการค้าขายใหม่ ๆ เข้ามาสู่ยุโรป

ลัทธิการค้าขายกับชาวต่างชาติ  ในช่วงเวลานี้ นโยบายเศรษฐกิจแนวใหม่ที่เรียกว่า Mercantilism (ลัทธิการค้าขายกับชาวต่างชาติ) ก็พัฒนาไปสู่ยุโรป ลัทธิการค้าขายถือว่าอำนาจของประเทศชาติขึ้นอยู่กับความมั่งคั่ง นโยบายเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาควบคุมด้านเศรษฐกิจของชาติ อาณานิคมต่าง ๆ มีบทบาทสำคัญในลัทธิการค้าขายกับชาวต่างชาติ ในบางกรณี อาณานิคมเหล่านั้นก็หาแหล่งทองคำและเงินให้กับประเทศแม่ อีกประการหนึ่ง อาณานิคมต่าง ๆ ก็จัดหาวัตถุดิบให้กับประเทศแม่นำไปใช้ในอุตสาหกรรม และยังให้บริการประเทศแม่ในฐานะเป็นตลาดรองรับสินค้าที่ผลิตจากประเทศแม่

ลัทธิทุนนิยมและเศรษฐกิจด้านการตลาด  เหตุผลหนึ่งของการสร้างอาณานิคมและการค้าขายก็คือการเจริญเติบโตของลัทธิทุนนิยม(Capitalism) ลัทธิทุนนิยมคือระบบเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นเจ้าของทรัพยากรทางด้านเศรษฐกิจแต่เพียงผู้เดียวและใช้ทรัพยากรเหล่านั้นเพื่อสร้างผลกำไรให้กับตนเอง เหล่าพ่อค้าที่ลงทุนสร้างอาณานิคมและการค้าขายสำเร็จก็มีผลกำไรอย่างมากมายมโหฬาร พวกเขาเสี่ยงลงทุนในธุรกิจทั้งในต่างประเทศและในบ้านเกิดเมืองนอน


ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้คนจำนวนหนึ่งรู้สึกว่ารัฐบาลมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจมากเกินไป นักเศรษฐศาสตร์ เช่น อาดัม สมิธ (Adam Smith) ได้โต้แย้งแนวความคิดเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี ในผลงานที่มีอิทธิพลของเขา ชื่อ the Wealth of Nations (ความมั่งคั่งของชาติ) สมิธได้โต้แย้งว่า เมื่อไม่มีการแทรกแทรงของรัฐบาล การตลาดก็มั่นใจได้ว่าเศรษฐกิจจะเจริญรุ่งเรือง แนวความคิดของสมิธเป็นแนวทางให้กับรูปแบบระบบเศรษฐกิจของสหรัฐสมัยใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น