วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เมโสโปเตเมียและดินแดนพระจันทร์เสี้ยว

เมโสโปเตเมียและดินแดนพระจันทร์เสี้ยว

ภูมิประเทศเมโสโปเตเมียโบราณ
ดินแดนระหว่างแม่น้ำสองสาย
        เมโสโปเตเมีย คือ ผืนแผ่นดินที่อยู่ระหว่างแม่น้ำสองสายคือ ไทกริส และ ยุเฟรติส  ซึ่งอยู่ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย  แม่น้ำสองสายนี้ไหลมาจากเทือกเขาที่อยู่ในประเทศเตอรกีและเคอร์ดิสถาน (Kurdistan) ในปัจจุบัน แล้วไหลผ่านแผ่นดินที่เป็นประเทศอิรักและผืนแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน ก่อนที่จะไหลลงสู่อ่าวเปอร์เซีย
แผนที่ประวัิัติศาสตร์โลกยุคเมโสโปเตเมีย
แผนที่แสดงลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์โลกยุคเมโสโปเตเมีย
แผนที่ประวัิัติศาสตร์โลกยุคเมโสโปเตเมีย
แผนที่แสดงลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์โลกยุคเมโสโปเตเมีย
เมโสโปเตเมีย แผ่นดินที่แม่น้ำสองสายนี้ไหลผ่าน เรียกว่า เมโสโปเตเมีย  (MEHS•uh•puh•TAY•mee•uh)  มีความหมายว่า “แผ่นดินที่อยู่ระหว่างแม่น้ำสองสาย”  แผ่นดินนี้ ส่วนมากเป็นที่ราบเต็มไปด้วยต้นไม้เล็ก ๆ   ในสมัยโบราณ เดินทางเรือจะง่ายกว่าเดินทางบนบก  เรือสามารถบรรทุกสัมภาระไปได้เป็นจำนวนมาก  และแม่น้ำก็ช่วยให้เรือล่องไปตามแม่น้ำ  ถนนหนทางยังมีแค่ประปราย
แม่น้ำยูเฟรติส
แม่น้ำยูเฟรติส

ดินที่อุดมสมบูรณ์ เกือบทุก ๆ  ปี  ฝนและหิมะที่ไหลลงมาจากภูเขาทำให้แม่น้ำขยายขึ้น  ขณะที่แม่น้ำไหลลงมาจากภูเขา  มันก็ขนดินลงมาด้วย  เมื่อไหลลงมาถึงที่ราบ  ก็เจิ่งนองไปด้วยน้ำ  พื้นที่ราบก็เป็นขอบเขตฝั่ง  เมื่อน้ำไหลกระจายไปทั่วพื้นที่ราบ ดินร่วนก็กลายเป็นแผ่นดิน  ดินบริสุทธิ์เมื่อถูกน้ำท่วมก็เรียกว่า ตะกอน  ตะกอนก็กลายเป็นปุ๋ย  ซึ่งมีความหมายว่า  เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ธัญญาหาร

บรรยากาศแห้งแล้ง    ในแต่ละปีเมโสโปเตเมียตอนใต้มีฝนตกน้อยกว่า 10 นิ้ว  และฤดูร้อนก็ร้อนมาก  บรรยากาศเช่นนี้  เรียกว่า บรรยากาศแห้งแล้ง (Arid)  แม้ว่าภูมิภาคจะแห้งแล้ง คนในสมัยโบราณก็ยังปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารกันอยู่ เนื่องจากยังมีแม่น้ำและดินที่อุดมสมบูรณ์อยู่ หมู่บ้านชาวนาจึงแผ่กระจายไปทั่วเมโสโปเตเมียตอนใต้ เมื่อประมาณ 3,500  ปี  ก่อนคริสต์ศักราช

การควบคุมน้ำโดยการชลประทาน
การทำงานของเกษตรกรเป็นเรื่องยาก พืชต้องการน้ำในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโต น้ำท่วมและอากาศแห้งแล้งในเมโสโปเตเมียนั่นหมายความว่าเกษตรกรมักจะมีทั้งน้ำมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
น้ำท่วมและภัยแล้ง
   น้ำท่วมเป็นประจำทุกปีของแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสคาดเดาไม่ได้  ไม่มีใครแน่ใจว่าเมื่อใดจะเกิดน้ำท่วม มันอาจจะมาในเดือนเมษายนหรืออาจจะไม่เกิดขึ้นจนถึงเดือนมิถุนายน  หลังจากเกษตรกรได้ปลูกพืช  ขอบเขตของการเกิดน้ำท่วมขึ้นอยู่กับหิมะละลายจากภูเขาในฤดูใบไม้ผลิมากเท่าใด และฝนตกมากเท่าใด  ฝนตกหนักและหิมะละลายมากจะนำกระแสน้ำที่รุนแรงพัดพาทุกอย่างไป     อย่างไรก็ตาม ฝนตกและหิมะละลายเพียงเล็กน้อย ก็หมายความว่าจะไม่มีน้ำท่วม
ภาพแสดงการชลประทาน
ภาพจิตรกรรมฝาผนังของอียิปต์ ในภาพ ชาวนาน้ำถังตักน้ำไปใช้
ในช่วงฤดูแล้งในขณะที่น้ำในแม่น้ำลดลง
ระยะเวลานานเมื่อฝนตกน้อยเกินไปจะเรียกว่า ภัยแล้ง  ในพื้นที่แห้งแล้งเช่นเมโสโปเตเมีย  ภัยแล้งเป็นอันตรายางต่อเนื่อง  ในช่วงฤดูแล้งระดับน้ำในแม่น้ำไทกริสและยุเฟรติสจะลดลง เป็นการยากสำหรับเกษตรกรที่จะรดน้ำพืชพันธุ์ธัญญาหารของพวกเขา  ถ้าพืชล้มตายลง ผู้คนชาวเมโสโปเตเมียก็หิวโหย
การชลประทาน
  ในยุคแรกเมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เกษตรกรชาวเมโสโปเตเมีย เริ่มควบคุมการจ่ายน้ำได้ พวกเขาสร้างกำแพงดินตามริมฝั่งแม่น้ำ เพื่อชะลอน้ำที่มากมายในช่วงน้ำท่วม  พวกเขายังสร้างคลองขึ้น เพื่อนำน้ำจากแม่น้ำไปยังทุ่งนา ระบบการรดน้ำให้แผ่นดินที่แห้งแล้ง เช่นนี้  เรียกว่า  การชลประทาน  
น้ำจากแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสเป็นโคลนและตะกอนมักจะทำให้คลองอุดตัน  การรักษาคลองให้สะอาดและน้ำให้ไหลเป็นความท้าทายอย่างต่อเนื่องสำหรับเกษตรกรชาวเมโสโปเตเมีย
----------------------------------------------------------------
การชลประทานสมัยโบราณ
ภาพจำลองด้านล่างแสดงการทำงานของระบบชลประทานสมัยโบราณ

ภาพจำลองการชลประทานสมัยโบราณ

ตำแหน่งที่ 1 ประตูควบคุมน้ำไม่ให้น้ำไหลมาจากแม่น้ำมากเกินไป
ตำแหน่งที่ 2 คลองสายหลักที่ขุดตรงมาจากแม่น้ำ ค่อย ๆ ลาดเอียงลงเพื่อเก็บรักษาน้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำ
ตำแหน่งที่ 3 คลองสาขาขนาดกลางนำน้ำมาจากคลองสายหลัก

ตำแหน่งที่ 4 คลองหล่อเลี้ยงเล็ก ๆ นำน้ำไปยังทุ่งนา
----------------------------------------------------------------

ดินแดนที่มีทรัพยากรเล็กน้อย
          มนุษย์ได้เคยมีการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อม บางปัญหาเกิดจากการขาดแคลนทรัพยากร ตัวอย่างเช่นเมโสโปเตเมียไม่มีป่าที่จะผลิตไม้ ภูมิภาคยังมีหินน้อยและขาดแร่ธาตุเช่นโลหะอีกด้วย

บ้านที่ทำด้วยต้นกกและก้อนอิฐ  เนื่องจากขาดทรัพยากรดังกล่าวนั้น  เมโสโปเตเมียโบราณจึงมีวัสดุก่อสร้างตามประเพณีนิยมบ้างเล็กน้อย  เนื่องจาก  เมโสโปเตเมีย ไม่สามารถสร้างบ้านด้วยไม้และหินได้  พวกเขาก็ใช้สิ่งที่หาได้อย่างง่าย ๆ  มาสร้าง  เช่น  ต้นกกและโคลน  พวกเขาจะมัดต้นกกเป็น “เสา” และฝังลงไปในหลุมที่พื้นดิน  พวกเขาจะโน้มเสาแล้วผูกติดกัน สร้างเป็นหลังคา  ฉาบกำแพงด้วยโคลนเพื่อทำให้บ้านแข็งแรง  ชาวเมโสโปเตเมียยังผสมโคลนกับฟางทำเป็นอิฐอีกด้วย  พวกเขาจะตากอิฐที่แดดเพื่อให้แข็ง  สิ่งก่อสร้างที่ก่อสร้างด้วยอิฐเหล่านี้ จะแข็งแรงมากกว่าบ้านที่ทำด้วยต้นกกและโคลน  กระนั้นก็ตาม  สิ่งก่อสร้างทั้งสองอย่างนั้นก็พังทลายง่ายในบรรยากาศที่เลวร้ายและต้องซ่อมอยู่บ่อย ๆ
บ้านที่สร้างจากต้นอ้อและก้อนอิฐ
ที่อยู่อาศัยที่สร้างจากโคลนและต้นอ้อ ในเมโสโปเตเมีย
รูปแบบนี้ใช้มาอย่างน้อย 5,000 ปี และปัจจุบันก็ยังใช้กันอยู่ 

กำแพงอิฐ  การขาดแคลนทรัพยากร ก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ  เป็นอันมากแก่ประชาชนชาวเมโสโปเมีย  ภูมิภาคก็ง่ายต่อการบุกรุก  เนื่องจากไม่ได้แวดล้อมด้วยภูเขาและสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติชนิดอื่น ๆ  ด้วยเหตุนี้  คนในพื้นที่อื่น ๆ  จึงมักจะมาขโมยของจากชาวเมโสโปเมียและย่ำยีพวกเขา  ชาวเมโสโปเตเมียจึงต้องการปกป้องตัวเอง  อย่างไรก็ตาม  พวกเขาขาดแคลนต้นไม้หรือหินที่จำเป็นในการสร่างสิ่งกีดขวางสำหรับป้องกันที่แข็งแรง  ดังนั้น  พวกเขาจึงสร้างกำแพงอิฐรอบเมืองและหมู่บ้านของพวกเขา
        รอบ ๆ  เมืองใหญ่ ๆ  บางครั้งพบว่ามีกำแพงใหญ่มากถึง 25 ฟุต  บนกำแพงจะมีหอรักษาการณ์อยู่ห่างกันเป็นระยะ ๆ  ตามความยาว  นอกจากนั้น กำแพงยังล้อมรอบด้วยคูคลองโล่งกว้างและคูที่เต็มไปด้วยน้ำเสมอ ๆ  กำแพงนี้เป็นป้อมปราการอันน่ายำเกรงสำหรับกองทัพที่จะมาบุกรุก

การค้าขายเพื่อแลกเปลี่ยนทรัพยาก  ชาวเมโสโปเตเมียได้รับหิน ไม้ ทองแดงและดีบุกผ่านการค้าขายกับผู้คนทั่วเอเชียตะวันตกเฉียงใต้  พวกเขายังมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสิ่งของฟุ่มเฟือย เช่น ทอง งา ไม้มะเกลือและหินมีค่าอีกด้วย ในการแลกเปลี่ยนสินค้าเหล่านี้  พ่อค้าชาวเมโสโปเตเมียได้มอบเมล็ดข้าว อินทผลัม และผลิตภัณฑ์จากการเกษตรอื่น ๆ  การทำเช่นนี้มีความเป็นไปได้  เนื่องจากชาวเมโสโปเตเมียได้ปลูกพืชผลอย่างล้นหลาม         
        งานหลายอย่าง เช่น การค้าขาย การขุดคลอง การสร้างกำแพงและเกษตรกรรมจะต้องทำซ้ำ ๆ  ซาก ๆ  ผู้นำชุมชนเริ่มจัดกลุ่มคนในการทำงานในเวลาที่ถูกต้อง
สิ้นค้าสำหรับทำการค้าขาย
สิ้นค้าสำหรับค้าขายกันในเมโสโปเตเมีย ในภาพ เป็นรูปแกะผูกติดกับต้นไม้
สิ้นค้านี้ทำจากทองคำ เปลือกหอย และแก้วไพฑูรย์ (lapis)  ซึ่งเป็นที่นิยมมากในสมัยนั้น
อารยธรรมแห่งแรก
การก่อกำเนิดอารยธรรม


ซากปรักหักพังของเมืองอูร์
ซากปรักหักพังของเมืองอูร์ ซึ่งเป็็นเมือเก่าของแคว้นสุเมอร์
          เนื่องจากผู้คนเป็นเกษตรกรชั้นดี พวกเขาได้ตั้งรกรากเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ เมื่อเวลาผ่านไป หมู่บ้านเหล่านี้ใหญ่ขึ้น ๆ ในที่สุดบางหมู่บ้านก็กลายเป็นเมือง  ผู้นำเมืองมีการเริ่มต้นการจัดระเบียบแรงงานในการแก้ปัญหา เช่น การสร้างและการทำความสะอาดคลองชลประทาน  ด้วยเหตุนี้  สังคมและวัฒนธรรมก็เติบโตซับซ้อนมากขึ้น  การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ได้นำมาซึ่งการจัดรูปแบบที่เจริญขึ้นทางวัฒนธรรมที่เรียกว่า อารยธรรม  นักประวัติศาสตร์ส่วนมากเชื่อว่า อารยธรรมแห่งแรกกำเนิดขึ้นประมาณ 3,300 ปี ก่อนคริสตศักราช ในแคว้นซูเมอร์ (Sumer) ซึ่งเป็นภูมิภาคแห่งหนึ่งในเมโสโปเตเมียตอนใต้
รูปปั้นการอ้อนวอนเทพเจ้า
รูปปั้นชาวสุเมอเรียนแสดงความจงรักกดีเทพเจ้า

นครรัฐของแคว้นสุเมอร์ 

       เมืองต่าง ๆ ของแคว้นสุเมอร์ศูนย์ของการค้า การเรียนรู้และศาสนา ประชาชนส่วนมากยังคงอาศัยอยู่ในชนบท แม้กระนั้น เมื่อเวลาผ่านไหปเมืองต่าง ๆ ก็เริ่มปกครองดินแดนและหมู่บ้านโดยรอบ ชุมชนซี่งประกอบด้วยเมืองและพื้นที่โดยรอบ เรียกว่า นครรัฐ (City-state)
แผนที่นครรัฐแคว้นสุเมอร์
แผนที่นครรัฐแคว้นสุเมอร์

ประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช แคว้นสุเมอร์ (หรือสุเมเรียน) มีนครรัฐอย่างน้อย 12 แห่ง บางนครรัฐมีชื่อเสียงมาก ประกอบด้วย บาบิโลน (Babylon คีช (Kish) นิปปูรณ์ (Nippur) และอูร์ (Ur) (ดูแผนที่ด้านบน) นครรัฐส่วนใหญ่เหล่านี้ตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส ที่ดิน ณ ที่นั้นจึงอุดมสมบูรณ์เป็นพิเศษ ส่งผลให้เกษตรกรสามารถปลูกอาหารได้มากขึ้น อาหารส่วนเกินได้สนับสนุนจุนเจือประชากรขนาดใหญ่
เมืองของแคว้นสุเมอร์ เมืองต่าง ๆ ของแคว้นสุเมอร์เจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แทนที่ถนนซึ่งตัดผ่านกัน ณ มุมด้านขวาจะกว้าง และตรง เมืองของแคว้นสุเมอร์กลับแคบ คดเคี้ยว มีกำแพงล้อมรอบเมือง มีประตูใหญ่ที่กำแพงทำให้คนเดินเข้าออกได้
ประชาชนสร้างบ้านเรือนของตนเองด้วยต้นกกและโคลนหรืออิฐ ผนังมีความหนามากเพื่อป้องกันความร้อน บ้านมีห้องเป็นชุด ๆ เรียงรายรอบลานบ้าน ซึ่งเป็นสนามอยู่ตรงกลางปกคลุมด้วยหลังคาใบปาล์มแบบหลวม ๆ บนแผ่นไม้กระดาน หลังคาก็เหมือนกับผนังถูกออกแบบมาเพื่อรักษาความเย็นให้กับบ้าน

ซิกกูรัต (Ziggurat): ศูนย์กลางของเมือง สิ่งก่อสร้างใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในเมืองของแคว้นสุเมอร์ซิกกูรัต(ZIHG•uh•RAT – หอวิหารขนาดใหญ่) ซิกกูรัตสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกประมาณ 2,200 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
ซิกกูรัตตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางกลุ่มวิหารขนาดใหญ่ทำหน้าที่คล้ายกับศาลากลางจังหวัด ข้อนี้เป็นเพราะนักบวชบริหารระบบชลประทานและด้านอื่น ๆ ที่สำคัญของการดำเนินชีวิตในเมือง ผู้คนเดินทางมาที่กลุ่มวิหารเพื่อจ่ายข้าวและสิ่งอื่นให้กับนักบวชเพื่อเป็นค่าบริการ เป็นผลให้นักบวชมีการจัดการเก็บรักษาข้าวส่วนเกินและควบคุมความมั่งคั่งของนครรัฐเป็นส่วนมาก
ซิกกูรัตแห่งเมืองอูร์
ภาพซิกกูรัตแห่งเมืองอูร์
ตำแหน่งหมายเลช 1. คือ วิหารหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นสิ่งก่อสร้างเล็กๆ อยู่บนยอดสุด ซิกกูรัตสร้างเหมือนกับภูเขาเพราะชาวเมโสโปเตเมียมีความเชื่อว่าพระเจ้าอยู่ในที่สูง

ตำแหน่งหมายเลข 2  นักโบราณคดีคิดว่าพื้นเวทีสร้างบนสิ่งก่อสร้างในยุคแรก สูงจากพื้นประมาณ 40 ฟุต
ตำแหน่งหมายเลข 3  ขั้นบันไดสามด้านนำผู้ที่เคารพนับถือขึ้นไปยังประตูโค้งสามด้าน ด้านในเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
นักบวชกลายเป็นผู้นำ  นักบวชมีบทบาทสำคัญในทางการเมืองในแคว้นสุเมอร์ ชาวสุเมอร์ (หรือสุเมเรียน) ยังเดินทางไปหานักบวชเพื่ออ้อนวอนให้เทพเจ้าช่วยเหลือ นักบวชก็แนะนำประชาชนเกี่ยวกับวิธีการทำให้เทพเจ้าโปรดปราน
ชาวสุเมเรียนมีความเชื่อในพระเจ้าและเทพธิดาหลายองค์ ซึ่งเรียกว่า พหุเทวนิยม (Polytheism) ความคำสอนในศาสนาของชาวสุเมเรียน เทพเจ้าสำคัญสี่องค์สร่างและปกครองโลก คือ เทพเจ้าแห่งท้องฟ้า เทพเจ้าแห่งลม เทพเจ้าแห่งภูเขา และเทพเจ้าแห่งน้ำใสสะอาด นครรัฐแต่ละแห่งก็นับถือเทพเจ้าสำคัญของตนเอง ชาวสุเมเรียนมีความเชื่อว่าพระเจ้าจะป้องกันไม่ให้สิ่งชั่วร้ายเกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อให้เทพเจ้าปกป้องตนเองและเมือง ชาวสุเมเรียนจึงพยายามทำให้เทพเจ้าโปรดปราน เทพเจ้าแต่ละองค์จึงมีนักบวชมากมายพระเจ้า เพื่อทำงานให้เทพเจ้าโปรดปรานและอ้างว่ามีอิทธิพลกับเทพเจ้า จึงทำให้ผู้คนยอมรับนักบวชเป็นผู้นำ

ผู้นำแบบใหม่ในแคว้นสุเมอร์  ประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราชนครรัฐมั่งคั่งขึ้น ผู้คนกลุ่มอื่น ๆ เริ่มโจมตีนครรัฐเหล่านั้นเพื่อยึดเอาความมั่งคั่ง บางกลุ่มมาจากดินแดนที่ห่างไกลออก กลุ่มอื่น ๆ มาจากนครรัฐที่เป็นคู่แข่ง ในช่วงเวลาที่เป็นอันตรายเช่นนั้น ผู้คนในนครรัฐมักจะขอร้องบุรุษผู้ทรงประสิทธิภาพให้มาปกครองพวกเขาและปกป้องเมือง ครั้งแรก ผู้นำดังกล่าวนำนครรับเข้าสู่สงครามเพียงอย่างเดียว ในที่สุดก็ควบคุมเมืองได้ทั้งหมด  ผู้นำใหม่เหล่านี้รับภาระงานบางส่วนของนักบวช และยังบำรุงรักษาคลอง พร้อมทั้งจัดการข้าวส่วนเกิน ตลอดจนทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษา
ในที่สุด นักปกครองแบบใหม่ก็กลายเป็นกษัตริย์ (King) ซึ่งเป็นผู้นำอันดับสูงสุดของกลุ่มคน พื้นที่ที่กษัตริย์ปกครอง เรียกว่าราชอาณาจักร (Kingdom) แคว้นสุเมอร์กลายเป็นอาณาจักรที่อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์องค์เดียวประมาณ 2,375 ก่อนคริสต์ศักราช
นักบวชยังคงความสำคัญเพราะงานของพวกเขาคือการทำให้เทพเจ้าโปรดปรานและขจัดสิ่งชั่วร้ายออกไป ผู้คนเชื่อว่าเทพเจ้าส่งกษัตริย์ให้ปกครอง
สังคมชาวสุเมเรียน
         ในขณะที่สังคมสุเมเรียนเจริญเติบโตสลับซับซ้อนมากขึ้น จึงแบ่งออกเป็นกลุ่มหรือชนชั้นทางสังคมมากมาย ระบบชนชั้นมักจะให้คำจำกัดความว่า ผู้ที่มักจะมีอำนาจและผู้ที่มักจะทำงานสนองความต้องการน้อย

ชนชั้นทางสังคม  กษัตริย์และนักบวชอยู่ในชนชั้นระดับบนของแคว้นสุเมอร์ ชาวสุเมเรียนมีความเชื่อว่ากษัตริย์และนักบวชที่มีความเชื่อมโยงกับเทพเจ้า ดังนั้นพวกเขาจึงมีอิทธิพลเหนือผู้คน ชนชั้นบนยังรวมถึงเจ้าของที่ดิน เจ้าหน้าที่ของรัฐและพ่อค้าผู้มั่งคั่งอีกด้วย (ทำนองเดียวกันกับสังคมอินเดียโบราณ)

ชนชั้นกลางรวมทั้งอิสรชนอื่น ๆ ทั้งหมด ชาวสุเมรียนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยเกษตรกรและช่างฝีมือ ทาสอยู่ในชนชั้นต่ำสุด  แต่พวกเขามีสิทธิบางอย่าง ทาสสามารถดำเนินธุรกิจและกู้เงินได้ พวกเขายังสามารถซื้ออิสรภาพของตนเองได้อีกด้วย

บทบาทของสตรี  ชนชั้นทางสังคมทุกชนชั้นจะมีผู้หญิง  ดังนั้น ตำแหน่งทางสังคมของผู้หญิงแตกต่างกันอย่างกว้างขวาง  โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงในแคว้นสุเมอร์ยุคต้นจะมีสิทธิมากกว่าผู้หญิงในเมโสโปเตเมียยุคต่อมา    
        ผู้หญิงชั้นสูงหลายคนบวชเป็นพระผู้หญิง (ภิกษุณี ความจริงภิกษุณีมีเฉพาะในศาสนาพุทธ) ซึ่งเป็นบทบาทอันมีเกียรติสำหรับผู้หญิง พวกเธอมีอิสระที่จะครอบครองที่ดิน สามารถทำงานเป็นแม่ค้าและช่างฝีมือ เช่น ช่างทอผ้า บทบาทส่วนใหญ่ของผู้หญิง ก็ยังเป็นการเลี้ยงดูลูก ๆ 
132
การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ของชาวสุเมเรียน
ชาวสุเมเรียน มีความสามารถในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี  พวกเขาคิดค้นเครื่องมือและการพัฒนาความรู้พิเศษในการปรับปรุงความเป็นอยู่ของพวกเขา พวกเขาเป็นพวกแรกที่ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือบางอย่างที่พวกเราใช้ในชีวิตประจำวัน

สิ่งประดิษฐ์คิดค้นในยุคแรก  นักประวัติศาสตร์ เชื่อว่า  ชาวสุเมเรียนคิดค้นไถสำหรับไถนา ขึ้นมา บางที อาจอยู่ราว ๆ  6,000 ปี ก่อนคริสตศักราช และล้อรถ ประมาณ 3,500 ปี ก่อนคริสตศักราช   สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ ช่วยให้ชาวสุเมเรียนจัดการความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเขาได้เป็นอย่างดี
ไถเป็นเครื่องมือสำคัญชนิดแรกที่ถูกคิดค้นเพื่อช่วยเกษตรกร ไถอันแรก คือไม้สำหรับขุดดินแบบง่าย ๆ  ที่มีด้ามจับ ครั้งแรก ใช้คนดึงหรือผลักดัน  ต่อมาจึงใช้สัตว์ ไถทำดินแข็งให้ร่วน ซึ่งทำให้การเพาะปลูกง่ายขึ้น  ชาวสุเมเรียน ใช้ล้อในหลาย ๆ  ทาง  เช่น ใส่รถเพื่อการขนส่งสินค้า  ล้อรถพิเศษชนิดหนึ่ง คือล้อรถของช่างปั้นหม้อ ล้อชนิดนี้ ทำให้ชาวสุเมเรียนสามารถผลิตเครื่องปั้นดินเผามีคุณภาพดีได้เร็วขึ้น หม้อเป็นภาชนะที่เก็บสิ่งของสำคัญสำหรับเก็บอาหารที่เหลือไว้  พวกมันยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ชาวสุเมเรียนสามารถนำไปขายได้
วงล้อ
ล้อพาหนะสมัยโบราณทำจากไม้ วงล้อด้านนอกทำจากหนัง
อักษรรูปลิ่ม
อักษรรูปลิ่ม อาลักษณ์ใช้
เหล็กจานเขียน
คณิตศาสตร์  ชาวสุเมเรียนได้พัฒนาวิชาการคำนวณเพื่อเก็บบันทึกสินค้าทางพืชพันธุ์และการค้าขาย ระบบการคำนวณของชาวสุเมเรียน ตั้งอยู่บนฐาน 60  ดังนั้น ทุกวันนี้ พวกเรา จึงมี 60 วินาทีในหนึ่งนาทีและ 60 นาทีในหนึ่งชั่วโมง วงกลมมี 360 องศา ในที่สุด เครื่องวัดเวลา จึงช่วยในการสร้างปฏิทิน

ภาษาที่ใช้เขียน  เมื่อประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสตศักราช ชาวสุเมเรียน ได้คิดค้นการเขียนเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ ในขณะที่การค้าขยายตัว พ่อค้าจำเป็นต้องบันทึกการแลกเปลี่ยน พวกเขายังต้องการที่จะติดป้ายสินค้าอีกด้วย  ดังนั้นพวกเขาจึงทำเครื่องหมายด้านนอกของภาชนะบรรจุด้วยสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใน สัญลักษณ์ดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันว่า แผนภูมิ ซึ่งหมายความว่า "การเขียนภาพ."  ในครั้งนั้น ชาวสุเมเรียน เริ่มวาดแผนภูมิบนแผ่นดินเหนียวแล้ว
ครั้งแรกแผนภูมิแสดงให้เห็นวัตถุจริง ๆ  ต่อมาพวกเขายังใช้แทนความคิดและเสียงอีกด้วย ด้วยการผสมผสานเสียง พวกเขาได้เขียนคำได้มากมาย  เมื่อเวลาผ่านไป ชาวสุเมเรียน หยุดการใช้ภาพและเริ่มที่จะใช้สัญลักษณ์รูปลิ่ม การเขียนรูปลิ่มนี้ เรียกว่า คูนีฟอร์ม (cuneiform - KYOO •• nee UH • FAWRM)
ระบบการเขียนมีความซับซ้อนมากมายและมีสัญลักษณ์ที่แตกต่างกันถึง 600สัญลักษณ์ การเรียนรู้สัญลักษณ์ทั้งหมดนั้นใช้เวลาเป็นปี เป็นผลให้มีคนไม่กี่คนที่สามารถอ่านออกและเขียนได้ คนที่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนเรียกว่า อาลักษณ์ (Scribe) พวกเขาเป็นผู้รักษาบันทึกอย่างเชี่ยวชาญ คนอื่น ๆ ในสังคมสุเมเรียนเคารพนับถือพวกเขาเป็นอย่างยิ่ง
เริ่มแรก ชาวสุเมเรียนใช้การเขียนเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจต่อมาพวกเขาเริ่มเขียนเกี่ยวกับสงครามน้ำท่วมและการปกครองของกษัตริย์  การบันทึกเหล่านี้ คือประวัติศาสตร์ของชาวสุเมเรียนที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร

จักรวรรดิแห่งดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์

เหล่าผู้สร้างอาณาจักรแห่งแรก

ประมาณ 3,000 ถึง 2,000 ก่อนคริสตศักราช เหล่ากษัตริย์ผู้ทะเยอทะยานของนครรัฐแห่งแคว้นซูเมอร์ (สุเมเรียน) ได้ต่อสู้แย่งชิงดินแดนกัน ดินแดนแห่งนั้นเป็นที่ราบและง่ายต่อการบุกรุก มีดินแดนมากมายที่จะให้ความมั่งคั่งและอำนาจแก่กษัตริย์   อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้ ไม่มีกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่คนเดียว สามารถที่จะควบคุมดินแดนเมโสโปเตเมียได้ทั้งหมด

จักรวรรดิอัคคาเดีย ประมาณ  2,371 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ผู้นำที่มีอำนาจ ทรงพระนาม ซาร์กอน (Sargon) แห่งอัคคัด ได้เข้าควบคุมภูมิภาคทั้งหมด  ซาร์กอน จึงเป็นที่รู้จักกันว่า เป็นผู้สร้างอาณาจักรแห่งแรกในประวัติศาสตร์โลก  อาณาจักรนี้ได้รวบรวมดินแดนและผู้คนที่แตกต่างกันเป็นอันมากมาอยู่ใต้ข้อบังคับกฎเกณฑ์เดียวกัน  บุคคลผู้ปกครองเรียกว่า จักรพรรดิ (emperor)  อาณาจักรของซาร์กอน จึงเรียกกันว่า จักรวรรดิ อัคคาเดีย
รูปปั้นศีรษะของซาร์กอน
รูปปั้นศีรษะของซาร์กอน ซาร์กอนหมายความว่า กษัตริย์ผู้ทรงควมยุติธรรม
ในที่สุด ซาร์กอน ก็ได้ปกครองเหนือดินแดนที่แผ่กว้างเป็นรูปโค้งจากอ่าวเปอร์เซียผ่านเมโสโปเตเมียไปจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ภูมิภาคนี้ เรียกว่าดินแดนพระจันทร์เสี้ยว อันอุดมสมบูรณ์ (The Fertile Crescent) ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์นี้ มีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ ทำให้เป็นผืนที่ดีเหมาะสำหรับการทำนา
การสร้างอาณาจักรเป็นรูปแบบที่กระทำกันมาครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดประวัติศาสตร์  อาณาจักร มีความสำคัญเพราะได้เปลี่ยนแปลงวิถีทางให้ผู้คนมีชีวิตอยู่  อาจจะนำความสงบสุขมาให้ประชาชนที่อาศัยอยู่  สนับสนุนการค้าซึ่งทำให้สินค้าเพิ่มมากขึ้น  อาณาจักรมักจะมีผู้คนจากหลายวัฒนธรรม   ความคิดเทคโนโลยีและประเพณีของประชาชนที่แตกต่างกันอาจจะใช้ร่วมกันทั้งหมด
รูปปั้นฮัมมูราบี
รูปปั้นฮัมมูราบี ทำขึ้นประมาณ 1,760 ปี ก่อน ค.ศ.
เป็นรูปปั้นของฮัมมูราบีผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรบาบิโลนกำลังสวดมนต์
อาณาจักรบาบิโลนและฮัมมูราบี  อาณาจักรอัคคาเดีย มีอายุยืนยาวประมาณ 200 ปี ก่อนคริสตศักราช และล่มสลายอย่างมหาศาลเพราะการโจมตีของพวกคนภายนอก  ประมาณ 2,000 ปี ก่อนคริสตศักราช  ผู้คนที่รู้จักกันว่า “อะมอไรต์ (Amorites)” ได้บุกเข้ามาและควบคุมนครรัฐของชาวสุเมเรียน พวกเขาเลือกเมืองบาบิโลนบนฝั่งแม่น้ำ ยูเฟรติส เป็นเมืองหลวงของพวกเขา
นับจาก 1,792 – 1,750 ปี ก่อนคริสตศักราช  กษัตริย์ที่ทรงอำนาจชื่อฮัมมูราบี (HAM•uh•RAH•bee) ได้ปกครองอาณาจักรบาบิโลน  เขาเชื่อว่า ประมวลกฎหมายจะช่วยให้เขาควบคุมดินแดนของเขาทั้งหมด ประมวลกฎหมายคือชุดของกฎหมายที่เขียนขึ้นเพื่อให้ประชาชนเชื่อฟัง ฮัมมูราบีทบทวนกฎหมายที่มีอยู่ในอาณาจักรทั้งหมด และเขียนประมวลกฎหมายขึ้นเป็นฉบับเดียว ซึ่งแสดงไว้บนเสาหินขนาดใหญ่ในกรุงบาบิโลน
เป้าหมายของประมวลกฎหมาย เพื่อนำความยุติธรรมหรือการปฏิบัติต่อประชาชนโดยความเป็นธรรม ให้กับทุกคนในอาณาจักร  มันระบุบทบัญญัติแห่งการกระทำที่ผิดกฎหมายและการลงโทษ  ประมวลกฎหมายของฮัมมูราบี ยอมรับความคิดที่ว่า สังคมควรจะดำเนินไปได้โดยการปกครองด้วยกฎหมาย ซึ่งหมายความว่ากฎหมายควรใช้กับคนทุกคน ไม่ใช่ใช้กับคนเพียงสองสามกลุ่ม โดยการแสดงประมาลกฎหมาย ฮัมมูราบียังมีความคิดที่ว่าคนมีสิทธิที่จะรู้กฎหมายและการลงโทษสำหรับลงโทษพวกเขาอีกด้วย

ชาวอัสซีเรียนและชาวแคลเดียน
          อาณาจักรบาบิโลนล่มสลายลงประมาณ 1,500 ก่อนคริสตศักราช ประมาณ 200 ปีต่อมา อาณาจักรอีกแห่งหนึ่ง คือ อัสซีเรีย ก็กำเนิดขึ้นครอบครองดินแดนพระจันทร์เสี้ยว อันอุดมสมบูรณ์ อัสซีเรียตั้งอยู่ในภาคเหนือของเมโสโปเตเมีย พื้นที่ที่เป็นเนินเขาลูกคลื่น (rolling hills) เพื่อปกป้องดินแดนของตน เหล่าผู้ปกครองจึงได้สร้างกองทัพที่มีประสิทธิภาพและขยายอำนาจออกไปปกครองดินแดนที่อยู่ใกล้เคียง
แผนที่จักรวรรดิอัสซีเรีย
แผนที่จักรวรรดิอัสซีเรีย 650 ปี ก่อน ค.ศ.
อาณาจักรอันเกรียงไกร  เหล่าทหารชาวอัสซีเรียใช้สิ่งประดิษฐ์ที่ทันสมัยสำหรับการทำสงคราม พวกเขาถือดาบเหล็กและหอกเหล็กปลายแหลม ศัตรูของพวกเขาไม่กี่คนที่มีอาวุธเหล็ก ชาวอัสซีเรียโจมตีกำแพงเมืองด้วยการกระทุ้ง พวกเขาใช้บันไดไต่กำแพงเมือง ขุดแม้กระทั่งอุโมงค์ใต้กำแพงเมืองเพื่อนำทหารเข้าไปภายในเมือง
เวลาผ่านไป  ชาวอัสซีเรียก็พิชิตดินแดนได้มากมาย  พวกเขาได้รวบรวมซีเรีย บาบิโลน อียิปต์  ฟีนีเซีย และปาเลสไตน์เข้าในอาณาจักร  จักรวรรดิอัสซีเรียได้ถึงจุดสูงสุดของอำนาจภายใต้ชื่อ อะชูร์บานิปาล หรือ อัช-อูร์บา-อีปาล (Ashurbanipal -AHSH•ur•Bahn•EE•Pahl) นับจาก 668 ถึง 627 ปี ก่อนคริสตศักราช นับจากเมืองหลวง ที่ชื่อ นายเวห์ (Nineveh) ได้ปกครองดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์เกือบทั้งหมด
จักรวรรดิอัสซีเรียได้ปกครองดินแดนที่พวกเขาพิชิตได้ด้วยการเลือกผู้ปกครองจากดินแดนที่ยึดได้ ซึ่งอยู่ในอาณัติของพวกเขามาบริหาร  ผู้ปกครองแต่ละคนจะต้องส่งส่วยให้จักรพรรดิอัสซีเรีย  นั่นหมายความว่าผู้ปกครองจะต้องจ่ายค่าคุ้มครองให้กับกองทัพอัสซีเรีย หากผู้ปกครองคนใดขาดการส่งส่วย กองทัพอัสซีเรียก็จะทำลายเมืองในดินแดนของเขา ประชาชนในแผ่นดินมักจะถูกเนรเทศหรือขับออกจากแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขา ไปยังสถานที่ห่างไกลเสมอ

การล่มสลายของจักรวรรดิอัสซีเรีย  609 ปี ก่อนคริสตศักราช จักรวรรดิอัสซีเรียก็ล่มสลายลง ศัตรูของจักรวรรดิอัสซีเรียทั้งสอง คือ จักวรรดิมีส (Medes หรือ meedz) และ คาลเดีย (kal•• DEE uhnz) ร่วมกำลังพิชิตจักรวรรดิอัสซีเรีย กองกำลังทั้งสอง ได้ทำลายเมืองนายเวห์ โดยการเผาอย่างราบคาบเหลือแต่ซาก เป็นเวลาหนึ่งศตวรรษหลังจากนั้นกองดินแห่งนั้นเป็นเพียงเครื่องหมายแสดงว่า ครั้งหนึ่ง เคยเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อะชูร์บานิปาล
(668 – 627 ปี ก่อนคริสตศักราช)
          ผู้ปกครองชาวอัสซีเรีย อะชูร์บานิปาล ส่งคนไปเพื่อค้นหาและนำบทคัดลอกงานเขียนจากทั่วจักรวรรดิกลับมา  การเก็บรวบรวมของเขามีแผ่นจารึกอักษรรูปลิ่มมากกว่า 20,000 แผ่น กล่าวถึงเรื่องต่าง ๆ  เช่น วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การแพทย์และศาสนา
ห้องสมุดของอะชูร์บานิปาล
ห้องสมุดของอะชูร์บานิปาลในเมืองหลวงนายเวห์
อะชูร์บานิปาล ได้จัดตั้งห้องสมุดขนาดใหญ่ในเมืองหลวง ชื่อ นายเวห์ (Nineveh)  ห้องสมุดจัดเก็บตำราที่รวบรวมไว้เป็นรายวิชาเช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดสมัยใหม่  อย่างไรก็ตามข้าศึกของเมืองนายเวห์ก็เผาห้องสมุดเสียราบเรียบ เมื่อนักโบราณคดีขุดซากปรักหักพังของห้องสมุดขึ้นมา พวกเขาพบแผ่นหินจารึกหลายแผ่น แผ่นหินเหล่านี้กลายเป็นแหล่งที่มาหลักของข้อมูลเกี่ยวกับเมโสโปเตเมียโบราณ
---------------------------------------------------------------------------------------------
จักรวรรดิบาบิโลนแห่งใหม่ ในที่สุด  พวกคาลเดีย (Chaldean) เพื่อนบ้านของชาวอัสซีเรีย ก็ได้ปกครองจักรวรรดิอัสซีเรียเดิมเสียเป็นส่วนมาก กรุงบาบิโลนจึงได้กลายเป็นเมืองหลวงจักรวรรดิใหม่ของชาวคาลเดีย จงจำได้ว่า กรุงบาบิโลนเป็นเมืองหลวงแห่งแรก ของอาณาจักรบาบิโลเนียน บางครั้งจักรวรรดิคาลเดียน จะเรียกว่าบาบิโลเนียนใหม่
จักรวรรดิคาลเดียน เจริญสูงสุดในยุคของวักรพรรดิเนบูชาดเนซซา ที่ 2 (Nebuchadnezzar II (NEHB •• UH kuhd •​​• NEHZ Uhr)) ซึ่งปกครอง ตั้งแต่ 605-562 ปี ก่อนคริสตศักราช เขาได้สร้างกรุงบาบิโลนขึ้นมาใหม่ เพื่อจะทำภรรยาของเขาให้โปรดปราน เนบูชาดเนซซาได้เพิ่มภูเขาจำลองที่ปกคลุมไปด้วยต้นไม้และพืช มันถูกเรียกว่า สวนลอยแห่งบาบิโลน สวนที่ถูกสร้างขึ้นในลักษณะนั้น มองดูเหมือนลอยอยู่เหนือพื้นดิน มันกลายเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ (ยุคแรก)
จักรวรรดิคาลเดีย มีนักปกครองที่โหดร้ายคล้ายกับจักรวรรดิอัสซีเรีย   ตัวอย่างเช่นในช่วง 587 ก่อนคริสตศักราชเนบูชาดเนซซาก็ได้ยึดกรุงเยรูซาเล็มเมืองหลวงของฮีบรู ต่อมา จักรวรรดิคาลเดียทำลายวิหารศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮีบรู ในกรุงเยรูซาเล็ม พวกเขายังจับเชลยชาวฮิบรูหลายพันคนไปไว้ในกรุงบาบิโลน เป็นเวลาประมาณ 50 ปี
นักปกครองที่อ่อนแอก็ทำตามจักรพรรดิเนบูชาดเนซซา ที่ 2  นักปกครองคนหนึ่งทำให้จักรวรรดิคาลเดียเสียหาย โดยการพยายามทำตัวเป็นเทพ มาร์ดูก (Marduk) เทพสำคัญของพวกเขา พวกสาวกของมาร์ดุกอาจจะช่วยพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซีย พิชิตกรุงบาบิโลน
เปอร์เซียเข้าควบคุมเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
หันไปทางทิศตะวันออกของดินแดนพระจันทร์เสี้ยวที่อุดมสมบูรณ์ก็เป็นดินแดนของพวกมีดซ์ (Medes) ซึ่งเรียกว่า มีเดีย(Media)  พวกมีดซ์ได้เข้าควบคุมดินแดนซึ่งชาวเปอร์เซียอาศัยอยู่  ภูมิภาคนี้ล้อมรอบไปด้วยภูเขา เทือกเขาทั้งสามนี้ คือ ซากรอส(Zagros) คอคาซัส (Caucasus (KAW•kuh•suhs)) และฮินดูกูช เทือกเขาฮินดูกูช ประเทศอิหร่านในทุกวันนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่นี้
ชาวเปอร์เซียซึ่งเป็นพวกที่เร่ร่อนมาจากที่ราบของเอเชียกลางเดินทางมาถึงดินแดนมีเดีย ประมาณ 1,000 ปี ก่อนคริสตศักราช พวกเขาสร้างอาณาจักรเล็ก ๆ หลายอาณาจักร ซึ่งเจริญรุ่งเรืองด้วยการค้าขาย อาณาจักรเหล่านี้เรืองอำนาจและเริ่มที่จะคุกคามการควบคุมดินแดนของพวกมีดซ์
ภาชนะสำหรับใส่น้ำดื่ม
ภาชนะใส่น้ำดื่มประดับด้วยรูปสิงโตบิน
อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความเร็วและอำนาจของชาวเปอร์เซีย
พระเจ้าไซรัส ก่อตั้งจักรวรรดิเปอร์เซีย  พวกมีดซ์ปกครองเปอร์เซียจนกระทั่งกษัตริย์เปอร์เซียผู้ฉลาดหลักแหลมทรงไว้ซึ่งอำนาจ ชื่อไซรัส (SY•ruhs) เข้ายึดครอง  พระองค์เป็นที่รู้จักกันว่า พระเจ้าไซรัสมหาราช  ไซรัสมุ่งที่จะพิชิตดินแดนรอบ ๆ  เปอร์เซียและรวบรวมดินแดนเหล่านี้ให้เป็นอาณาจักรขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง  พระองค์มุ่งมั่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  ครั้งแรก ไซรัสเอาชนะอนาโตเลียไปถึงทิศตะวันตก แล้วระหว่าง 550 และ 539 ปี ก่อนคริสตศักราช พระองค์ได้พิชิตดินแดนที่ครั้งหนึ่งเคยถูกปกครองโดยจักรวรรดิอัสซีเรียและจักรวรรดิคาลเดีย อาณาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ไพศาลมาก
พระเจ้าไซรัสต้องการแนวทางในการปกครองดินแดนที่เต็มไปด้วยประชาชนมากมายหลายชาติพันธุ์ ซึ่งแตกต่างจากจักรวรรดิอัสซีเรียที่ปกครองอย่างโหดร้าย  พระเจ้าไซรัสกำหนดนโยบายหรือปฏิบัติการของรัฐบาลด้วยขันติธรรม  ขันติธรรม นี้ หมายถึงการอนุญาตให้ประชาชนรักษาประเพณีและความเชื่อของเขาเอง พระเจ้าไซรัสอนุญาตให้ประชาชนที่พระองค์พิชิตได้ ให้นับถือเทพเจ้าของพวกเขาเอง พูดภาษาของพวกเขาเอง และดำเนินชีวิตตามวิถีชีวิตของพวกเขาเองต่อไปได้ แต่พวกเขาไม่ต้องจ่ายส่วย
นโยบายขันติธรรมของพระเจ้าไซรัส ทำให้การปกครองอาณาจักรเป็นไปอย่างราบรื่น มีน้อยคนที่ต่อต้าน และประชาชนก็ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความสงบ
แผนที่จักรวรรดิเปอร์เซียในช่วง 500 ปี ก่อน ค.ศ.
แผนที่จักรวรรดิเปอร์เซียในช่วง 500 ปี ก่อน ค.ศ.
พระเจ้าดาริอุส ขยายจักรวรรดิ  พระเจ้าไซรัสได้สร้างอาณาจักรของประชาชนมากมายอย่างมั่นคงโดยนโยบายขันติธรรมของพระองค์  พระเจ้าแคมไบซีส (Cambyses (kam•BY•seez)) ทายาทของพระเจ้าไซรัส ได้แผ่ขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวาง แต่พระองค์ปกครองโดยวิธีที่รุนแรง  เมื่อพระองค์สวรรคต การก่อกบฏก็แผ่ระอุไปทั่วอาณาจักร  ต่อมาผู้นำที่เข้มแข็งชื่อ ดาริอุส หรือ ดาไรอัส (duh•RY• uhs) ขึ้นครองอำนาจ 
ดาริอุสใช้เวลาหลายปีแรกของการครองราชย์ของพระองค์ ด้วยการรับมือกับการต่อต้านของประชาชนหลังจากที่พระองค์ปราบปรามการปฏิวัติ พระองค์ก็กรีธาทัพไปเพื่อขยายขอบเขตอาณาจักรของพระองค์ เมื่อเวลาผ่านไปพระองค์พิชิตดินแดนทางตะวันออกไกลออกไปถึงอินเดีย ภายใต้การปกครองของพระองค์จักรวรรดิเปอร์เซียขยายขึ้นไป วัดได้ 2,800 ไมล์ จากตะวันออกไปจรดตะวันตก (เทียบระยะทางจากนครนิวยอร์กไปยังลอสแองเจลีส ประมาณ 2,500 ไมล์.)
ซากปรักหักพังเมือเปอร์เซโปลิส
ซากปรักหักพังเมืองเปอร์เซโปลิส เมืองหลวงของจักรวรรดิ เป็นรูปผู้พิเศษประตู
อาณาจักมีขนาดใหญ่โตมโหฬารมาก ซึ่งพระเจ้าดาริอุส ได้เพิ่มนโยบายใหม่แก่อาณาจักรเหล่านั้น ซึ่งวางไว้โดยพระเจ้าไซรัส พระเจ้าดาริอุส แบ่งอาณาจักรเป็น 20 นครรัฐ (Province = City State) แต่ละนครรัฐซึ่งเป็นพื้นที่ดินแดนคล้ายกับรัฐ มีการปกครองแบบท้องถิ่น พระเจ้าดาริอุส ตั้งผู้ว่าการรัฐที่เรียกว่า satraps (ข้าหลวง) (SAY•TRAPS) เพื่อดำเนินการออกคำสั่งของพระองค์ในนครรัฐและการจัดเก็บภาษี นอกจากนี้ พระองค์ยังได้แต่งตั้งสายลับ ซึ่งเรียกว่า “พระเนตรและพระกรรณของพระราชา (king’s eyes and ears)” เพื่อให้แน่ใจว่า ข้าหลวงได้ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์   นโยบายเหล่านี้ทำให้พระองค์มีอำนาจยิ่งใหญ่เหนือดินแดนทุกดินแดนในอาณาจักร
นโยบายนครรัฐ ซึ่งปกครองโดยข้าหลวง เป็นเพียงวิธีที่พระเจ้าดาริอุสรวมจักรวรรดิเข้าด้วยกันเพียงวิธีหนึ่งเท่านั้น พระองค์ยังสร้างถนนหลวงหรือถนนเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับบริหารรัฐ ถนนหลวง ยาวถึง 1,775 ไมล์ ตอนปลายทางด้านตะวันออกของถนน อยู่ในเมืองสุสา (Susa) ในบาบิโลเนียและตอนปลายทางด้านตะวันตกอยู่ในเมืองซาร์ดิส (Sardis) ในอนาโตเลีย พระราชสาส์นถูกส่งไปตามถนนโดยม้าเร็ว กองกำลังทหารและทหารหุ้มเกราะยังเคลื่นไปตามถนนจากทุกส่วนของอาณาจักร
พระเจ้าดาริอุสได้ใช้ขั้นตอนอื่น ๆ เพื่อรวมอาณาจักรเข้าด้วยกัน พระองค์ได้ตั้งประมวลกฎหมายโดยเอาแบบอย่างประมวลกฎหมายฮัมมูราบี ของกษัตริย์ฮัมมูราบีแห่งบาบิโลเนีย พระองค์ได้เอาความคิด “การทำเหรียญกษาปณ์”  จากชาวลิเดีย (Lydians) ที่พระองค์พิชิตได้ เหรียญเหล่านี้ออกโดยรัฐบาล โดยใช้เป็นเงินอย่างเป็นทางการ ส่งเสริมธุรกิจและทำให้จ่ายภาษีง่ายขึ้น
พระเจ้าดาริอุสได้วางแผนกรีธาทัพไปปราบกบฏอียิปต์ ในช่วง 486 ปีก่อนคริสต์ศักราช แต่พระองค์ได้สวรรคตในปีนั้น ลูกชายของพระองค์ ชื่อ เซอร์ซีส (Xerxes (ZUHRK•seez)) ได้ต่อสู้กับอียิปต์ นอกจากนี้ยังต่อสู้กับพวกกรีกอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น