วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

จีนสมัยโบราณ

จีนสมัยโบราณ

จีนสมัยโบราณ
สัณฐานทางภูมิศาสตร์ของจีนสมัยโบราณ

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศจีน

          ประเทศจีนก็มีรูปแบบทำนองเดียวกันกับลุ่มแม่น้ำในเมโสโปเตเมีย อียิปต์และลุ่มแม่น้ำสินธุ อารยธรรมของจีนได้รับการพัฒนาเพราะแม่น้ำสองสายนำน้ำและตะกอนที่ทำให้การทำเกษตรกรรมมีศักยภาพ เมืองหลายเมืองเติบโตไปตามริมฝั่งแม่น้ำ
แผนที่ลำดับประวัติศาสตร์จีนโบราณและโลก
แผนที่ลำดับเหตุการณ์จีนสมัยโบราณและโลก

แผนที่จีนสมัยโบราณ
แผนที่จีนสมัยโบราณ 1,523 - 221 ปี ก่อน ค.ศ.
ลำดับเหตุกาณ์จีนโบราณและโลก
แผนที่ลำดับเหตุการณ์จีนสมัยโบราณและโลก

ภาชนะใส่เครื่องดื่มแห่งราชวงศ์ชาง
ภาชนะใส่เครื่องดื่มแห่งราชวงศ์ชาง เป็นผลงานด้านสัมฤทธิ์อันยอดเยี่ยม
แยกตัวอยู่โดดเดี่ยวเพราะปัญหาอุปสรรค  เนื่องจากตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของทวีปเอเชีย ประเทศจีนจึงพาดผ่านไกลไปทางเหนือของเส้นศูนย์สูตรเหมือนกับประเทศสหรัฐอเมริกา ดินแดนของจีน ทางทิศตะวันออกติดทะเลเหลือง  ทะเลจีนตะวันออก และมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลทรายพาดผ่านเป็นขอบดินแดนทางเหนือและตะวันตก ไปทางทิศเหนือเป็นทะเลทรายโกบี (GOH•bee) และทางทิศตะวันตก เป็นทะเลทรายทากลิมากัน (Taklimakan - TAH•kluh•muh•KAHN)  เทือกเขาปามีร์ (Pamir) เทียนฉาน (Tian Shan) และเทือกเขาหิมาลัย (HIHM•UH•LAY•uh) มีรูปโค้งมากมายเป็นเขตแดนทางตะวันตก
ทะเลทรายโกบี
ทะเลทรายโกบี เป็นทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
จีนถูกแยกตัวอยู่โดดเดี่ยวทางภูมิศาสตร์ ซึ่งแตกต่างจากภูมิภาคของแม่น้ำไนล์และดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ ที่อารยธรรมมีความสัมพันธ์กันบ่อย ๆ   เทือกเขาขนาดใหญ่ ทะเลทรายอันกว้างใหญ่และความกว้างใหญ่มหาศาลของน้ำทำหน้าที่เป็นอุปสรรคระหว่างจีนและดินแดนอื่น ๆ  นี่เองที่ทำให้การแพร่กระจายของความคิดและสินค้าไปยังจีนเป็นไปได้ยาก เป็นผลให้อารยธรรมจีนพัฒนาไปตามสายที่แตกต่างกันมาก มีอิทธิพลด้านนอกเล็กน้อยที่มาก่อรูปร่างวัฒนธรรมของจีน

ระบบแม่น้ำสองระบบ  แม่น้ำสายสำคัญสองสายไหลไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก  แม่น้ำฉางเจียง (Chang Jiang หรือ chahng jyahng) หรือแม่น้ำแยงซี (Yangtze River) ค้นพบในภาคกลางของจีน แม่น้ำหวงเหอ (Huang He  หรือ hwahng huh - หรือไทยออกเสียง ฮวงโหซึ่งไหลไปทางทิศเหนือยังเป็นที่รู้จักกันอีกว่า แม่น้ำเหลือง (Yellow River)
ในสมัยโบราณ การทำการเกษตรของจีนส่วนใหญ่ทำในผืนแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์มากอยู่ระหว่างแม่น้ำฉางเจียงและแม่น้ำหวงเหอ  กระแสน้ำของแม่น้ำสองสายได้ทิ้งตะกอนสีเหลืองที่ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ดินแดนแห่งนี้เรียกว่า ที่ราบจีนภาคเหนือ (North China Plain) เป็นศูนย์กลางของอารยธรรมจีนตลอดมา

สภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย  ประเทศจีนมีสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน คล้ายกับประเทศสหรัฐอเมริกามาก ภาคตะวันตกของจีนแห้งแล้งคล้ายภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกา เพราะส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายและภูเขาที่มีประชากรเบาบางและมีพื้นที่เพาะปลูกที่สามารถใช้งานได้น้อย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนมีฤดูกาลคล้ายกับนิวอิงแลนด์ ที่มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นและฤดูร้อนที่อบอุ่น ในทางตรงกันข้าม ทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นเหมือนภาคใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีฤดูหนาวและฤดูร้อนแผ่ว ๆ  ในช่วงฤดูร้อนก็มีฝนปรอย ๆ  ภูมิอากาศที่แตกต่างกันเหล่านี้ช่วยให้จีนผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหารที่หลากหลาย  ข้าวปลูกในภาคใต้อันชุ่มชื้น ในขณะที่ข้าวสาลี ถั่วเหลือง และข้าวฟ่างปลูกในดินแดนทางเหนือที่แห้งแล้งกว่า
-------------------------------------------------------------

เขื่อนสามหุบเขา (Three Gorges Dam)

แผนที่เขื่อนสามหุบเขา
เขื่อนสามหุบเขา (Three Gorges Dam)
          แม่น้ำฉางเจียงก่อผลประโยชน์ให้กับจีน โดยการทำให้พื้นที่การเกษตรอุดมสมบูรณ์และการขนส่งภายในประเทศ ยังทำให้เกิดน้ำท่วมอันแสนสาหัสอีกด้วย  ในปีคริสต์ศักราช 1993 รัฐบาลจีนเริ่มก่อสร้างเขื่อนสามหุบเขา (หรือเขื่อซานเสียต้าป้า)  รัฐบาลบอกว่าเขื่อนจะเริ่มต้นใช้การในปี ค.ศ.  2009 จะช่วยให้การควบคุมน้ำท่วมและผลิตพลังงาน อย่างไรก็ตาม ประชาชนมากกว่า 1 ล้านคนได้มีการย้ายออกจากพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมของเขื่อนอีกด้วย
----------------------------------------------------------------------------------------

ราชวงศ์ชาง (Shang)

ประมาณ 2,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ชุมชนเกษตรกรรมตามฝั่งแม่น้ำหวงเหอ เริ่มเจริญเติบโตเป็นเมือง อารยธรรมยุคแรกเริ่มต้นที่นั่น และวัฒนธรรมจีนในปัจจุบันวิวัฒนาการมาจากจุดเริ่มต้นสมัยโบราณ  นักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า จีนน่าจะเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดอย่างต่อเนื่องของโลก

กษัตริย์ (ฮ่องเต้) แห่งราชวงศ์ชาง  ประมาณ 1,766 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  กษัตริย์แห่งราชวงศ์ชางเริ่มปกครองบางเมือง  พวกเขาตั้งราชวงศ์  ซึ่งเป็นวงศ์ตระกูลหรือกลุ่มที่ปกครองเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน กษัตริย์มีความรับผิดชอบกิจกรรมทางศาสนา  พวกเขาอ้างว่าเหล่าทวยเทพยินยอมให้ปกครอง  กษัตริย์ราชวงศ์ชาง ปกครองส่วนกลางของที่ราบจีนภาคเหนือ  ประยูรญาติของพวกเขาปกครองพื้นที่ห่างไกล  ราชวงศ์ชางใช้รถม้าเพื่อปกป้องตัวเองจากพวกเผ่าร่อนเร่ที่อาศัยอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตก (น่าจะเป็นมองโกล) พวกเขาทำสงครามกับคนเผ่าเร่ร่อนเหมือนกับราชวงศ์โจว (Zhou หรือ Joh)

ราชตระกูลชาง  ในวัฒนธรรมราชวงศ์ชาง การเคารพบิดามารดาและบรรพบุรุษแห่งตระกูลเป็นสิ่งสำคัญ  ราชวงศ์ถูกผูกติดอยู่อย่างใกล้ชิดกับศาสนา ชาวจีนเชื่อกันว่าวิญญาณของบรรพบุรุษของพวกเขาอาจนำมาซึ่งโชคลาภที่ดี  วงศ์ตระกูลจึงเคารพต่อบรรพบุรุษของบิดาด้วยการฆ่าสัตว์บูชายัญเป็นเกียรติยศของพวกเขา  ผู้ชายปกครองภายในวงศ์ตระกูล (จีนถือมากในเรื่องนี้ ถ้าไม่มีลูกผู้ชายเขาจะหาเมียไปเรื่อย ๆ)

การพัฒนาภาษา  กษัตริย์ราชวงศ์ชางอ้างตัวว่าเป็นผู้ที่สามารถมีอิทธิพลเหนือเทพเจ้า พวกเขาได้รับข้อความจากเทพเจ้าผ่านกระดูกพยากรณ์ (oracle bones) กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกสัตว์ที่นักบวชแห่งราชสำนักของราชวงศ์ชางได้ขีดเขียนคำถามต่อเทพเจ้าไว้   ต่อมา พวกเขาได้เอาท่อนไม้อุ่น ๆ แตะกับกระดูกเพื่อทำให้กระดูกเหล่านั้นแตก และตีความตามรอยแตก พวกเขาได้ขีดเขียนคำตอบบนกระดูก รอยขีดข่วนเป็นรูปแบบแรกของการเขียน
การเขียนตัวอักษรจีน
การเขียนตัวอักษรจีน
ราชวงศ์ชางก็เหมือนกับคนโบราณพวกอื่น ๆ ได้พัฒนาระบบการเขียนของพวกเขาด้วยแผนภูมิ  ภาพวาดที่เรียบง่ายที่เป็นตัวแทนของคำหรือความคิด   ระบบในการเขียนของจีนใช้สัญลักษณ์จำนวนมาก คนต้องรู้ตัวอักษรอย่างน้อย 1,500 ตัวอักษร จึงจะสามารถอ่านและเขียนได้ คนที่ได้รับการศึกษา จำเป็นต้องรู้ตัวอักษรอย่างน้อย 10,000 ตัวอักษร
ข้อดีอย่างหนึ่งของระบบการเขียนภาษาจีน ก็คือคุณสามารถอ่านภาษาจีนได้โดยไม่มีความสามารถในการพูดภาษาจีนได้  คนทั่วประเทศจีนสามารถเรียนรู้ภาษาเขียนของพวกเขาได้ แม้ว่าภาษาพูดจะแตกต่างกัน ระบบได้ช่วยรวมดินแดนขนาดใหญ่ที่แตกต่างกันให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้
วัฏจักรราชวงศ์ของจีนโบราณ
วัฏจักรราชวงศ์ของจีนโบราณ

ราชวงศ์โจว (Zhou)

          ชาวโจวอพยพลงมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พวกเขาปะทะกับชาวชางหลายครั้ง ประมาณ 1,027 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  ผู้นำชาวโจว ชื่อ วูวัง (Wu Wang) ได้นำทัพเข้าโจมตีชาวชางจนพ่ายแพ้ ชาวโจวได้นำแนวปฏิบัติของชาวชางหลายอย่างมาใช้ เพื่อไม่ให้ชัยชนะของพวกเขานำมาซึ่งการกวาดล้างการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ผู้นำชาวโจวยังนำเสนอความคิดใหม่ ๆ แก่อารยธรรมจีน

ชาวโจวและวัฏจักรของราชวงศ์  กษัตริย์โจวได้ก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ในประเทศจีน ราชวงศ์จีนเจริญขึ้นและเสื่อมลงตามรูปแบบ นักประวัติศาสตร์เรียกรูปแบบของการเจริญขึ้นและเสื่อมลงของราชวงศ์ในประเทศจีน ว่า วัฏจักรของราชวงศ์ (Dynastic cycle)
กษัตริย์แห่งราชวงศ์โจวก็เหมือนกับชาวอียิปต์โบราณ  คิดว่า ความยุ่งยากจะมาหา ถ้าผู้ปกครองทำให้สวรรค์ไม่พอใจ  เพื่อแสดงเหตุผลถึงชัยชนะอันสมควรของพวกเขา ผู้นำโจวประกาศว่า กษัตริย์ชางองค์สุดท้ายเป็นผู้ปกครองที่ไม่เอาไหน พวกเขาอ้างว่า เทพเจ้าได้นำสิทธิในการปกครองของชาวชางออกไปและมอบให้แก่ชาวโจว
ในที่สุดความคิดที่ว่าผู้ปกครองที่ดีได้รับการอนุมัติจากเทพเจ้ากลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมจีน  เมื่อผู้ปกครองชั่วร้ายหรือโง่ คนที่เชื่อเรื่องการอนุมัติของเทพเจ้าจะถูกกำจัดออกไป  ความคิดนี้ถูกเรียกว่าอาณัติแห่งสวรรค์ (Mandate of Heaven) คนจีนเชื่อว่า ความยุ่งยาก เช่น การลุกฮือของชาวไร่ชาวนา การรุกราน น้ำท่วมหรือการเกิดแผ่นดินไหว นั่นหมายความว่าอาณัติแห่งสวรรค์ถูกพรากไป แล้วมันเป็นเวลาสำหรับผู้นำคนใหม่ และอาณัติแห่งสวรรค์อาจผ่านไปยังตระกูลขุนนางอีกตระกูลหนึ่ง

การปกครองของราชวงศ์โจว  เหมือนกับราชวงศ์ชาง ราชวงศ์โจวไม่ได้มีการปกครองส่วนกลางที่เข้มแข็ง กษัตริย์ทำให้คนที่มีความสัมพันธ์ในครอบครัวหรือคนอื่น ๆ ที่น่าเชื่อถืออยู่ในความดูแลของส่วนภูมิภาค ผู้ปกครองท้องถิ่นเหล่านั้น หรือขุนนางถวายความจงรักภักดีและราชการทหารแก่กษัตริย์  ในทางกลับกัน กษัตริย์ก็สัญญาว่าจะช่วยปกป้องดินแดนของตน ในขณะที่เมืองเล็กของพวกเขากลายเป็นเมืองใหญ่  ขุนนางก็เติบโตแข็งแกร่ง  กลุ่มอื่น ๆ เป็นอันมากก็เข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของพวกเขา ขุนนางเป็นส่วนน้อยขึ้นอยู่กับกษัตริย์  พวกเขาก็เริ่มต่อสู้กันเองและกับคนอื่น ๆ ดินแดนที่พวกเขาผนวกเข้ามาอยู่ในการควบคุมของตนก็ขยายตัวเป็นดินแดนของจีน
มังกรหยก
จี้มังกรหยก  มังกรหยกเป็นสัญลักษณ์แห่งความมีอำนาจและความเป็นเลิศ

ยุคแห่งภาวะสงคราม  การรุกรานดินแดนจีน เป็นเรื่องที่คงอยู่ตลอดในประวัติศาสตร์จีน หลังจาก 800 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เผ่าคนเร่ร่อนจากทางเหนือและทางตะวันตกได้เข้ามาบุกจีน ในระหว่าง 771 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  ผู้รุกรานได้ทำลายเมืองหลวง ชื่อ โหว(Hao) และฆ่ากษัตริย์ ตระกูลของกษัตริย์ ได้อพยพหนีไปลั่วหยาง (Luoyang) และตั้งเมืองหลวงใหม่ เพราะกษัตริย์อ่อนแอ ขุนนางก็ต่อสู้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อำนาจของพวกเขาเติบโตขึ้น ขุนศึกเหล่านี้ก็อ้างตัวเองว่าเป็นกษัตริย์ในดินแดนของพวกเขา การกระทำนี้นำไปสู่​​ช่วงเวลาที่เรียกว่า ยุคแห่งภาวะสงคราม (The Time of the Warring Statesซึ่งเริ่มขึ้นประมาณ 403 ปี ก่อนคริสต์ศักราช

ปรัชญาในสมัยโบราณของจีน

          ในช่วงแห่งภาวะสงครามในประเทศจีนนี้ สังคมจีนประสบความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยมาก ขุนศึกและกษัตริย์ต่อสู้กันเอง เพื่อแย่งกันปกครองดินแดน  นักวิชาการประหลาดใจว่าสิ่งใดนำสันติภาพไปยังดินแดน พวกเขาพัฒนาวิธีการคิดสามวิธี  คือ การยึดถือกฎหมาย  ขงจื้อและเต๋า แต่ละอย่างก็เป็นปรัชญาหรือการศึกษาตรรกวิทยาเรื่องความจริงขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับความรู้ ค่านิยมและโลก

ลัทธิการยึดถือกฎหมาย  ปรัชญาข้อหนึ่ง คือ ลัทธิการยึดถือกฎหมาย หรือความเชื่อที่ว่าการปกครองที่มีสมรรถภาพสูง มีประสิทธิภาพและระบบกฎหมายที่เข้มงวดเป็นกุญแจในการการจัดระเบียบสังคม  ผู้สนับสนุนลัทธิการยึดถือกฎหมายกลัวความไม่เป็นระเบียบในสังคม พวกเขาตัดสินใจว่า การปกครองที่แข็งแกร่งที่บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จะฟื้นฟูระเบียบและแก้ปัญหาของจีน
สำนักขงจื๊อ
สำนักขงจื๊อ ขงจื๊อ ที่ 2 จากซ้าย พบปะกับลูกศิษย์
กฎหมายที่เข้มงวดและการลงโทษอย่างรุนแรง  ผู้สนับสนุนลัทธิยึดกฎหมายเชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนชั่วร้าย ดังนั้นพวกเขาคิดว่า คนจะทำความดีเมื่อถูกบังคับให้ทำเท่านั้น  ผู้สนับสนุนลัทธิยึดกฎหมายคิดว่า การปกครองควรผ่านกฎหมายที่เข้มงวดเพื่อควบคุมแนวทางให้ผู้คนประพฤติ พวกเขาแย้งว่าการลงโทษที่รุนแรงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำให้คนกลัวการทำความผิด

การควบคุมการปกครองเพิ่มมากขึ้น ผู้สนับสนุนลัทธิยึดกฎหมาย สอนว่านักปกครองควรตอบแทนคนที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ผู้สนับสนุนลัทธิยึดกฎหมาย เน้นการลงโทษมากกว่าการให้รางวัล ฉาง หยาง (Shang Yang) ผู้สนับสนุนลัทธิยึดกฎหมายคนหนึ่ง ต้องการจะบังคับให้คนรายงานผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย (lawbreakers) ในความเป็นจริง เขาคิดว่าคนที่ไม่ได้รายงานผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย ควรจะถูกสำเร็จโทษ
ผู้สนับสนุนลัทธิยึดกฎหมาย ไม่ต้องการให้คนร้องทุกข์เกี่ยวกับการปกครอง หรือคำถามว่ารัฐบาลได้ทำอะไรแล้ว พวกเขานิยมการจับกุมคนที่ถามรัฐบาลหรือสอนความคิดที่แตกต่าง  พวกเขายังสอน ว่า ผู้ปกครองควรเผาหนังสือที่มีปรัชญาหรือความคิดที่แตกต่างกัน

ลัทธิขงจื๊อ

         ขงจื๊อมีชีวิตอยู่ ระหว่าง 551-479  ปี ก่อนคริสต์ศักราช ช่วงเวลาของความขัดแย้งและความไม่สงบมากมายในประเทศจีน เขาก็เหมือนกับผู้สนับสนุนลัทธิยึดกฎหมาย ต้องการจะฟื้นฟูระเบียบของยุคต้นให้แก่สังคมของเขา อย่างไรก็ดี เขาได้พัฒนาความคิดที่แตกต่างเกี่ยวกับวิธีการที่จะยุติความขัดแย้งและมีความสงบสุขในเครือญาติทั้งหมด  ตามคำสอนขงจื้อ การเคารพคนอื่น ๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างแน่นอนเพื่อความสงบสุขและความสงบเรียบร้อย  ผู้นำรัฐบาลควรกำหนดตัวอย่างที่ดี เพื่อให้คนเห็นว่าสิ่งใดถูกต้อง ลูกศิษย์ของขงจื๊อรวบรวมความคิดของเขาและบันทึกไว้ในหนังสือที่เรียกว่า กวีนิพนธ์ (Analects) หนังสือบอกคำสอนของขงจื้อซึ่งจัดระบบความเชื่อเข้าด้วยกันซึ่งเป็นที่รู้จักว่า ลัทธิขงจื้อ (Confucianism kuhn•FYOO•shuh•nihz•uhm)
พิธีกรรม
เด็ก ๆ ในไต้หวันเข้าร่วมพิธีเชิดชูเกียรติขงจื๊อ
ความสัมพันธ์ 5 ประการ  ขงจื๊อสอนประมวลจรรยาบรรณที่เหมาะสมหรือพฤติกรรมสำหรับประชาชน  ในลัทธิขงจื้อมีความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานห้าประการ  ความสัมพันธ์แต่ละประเภทมีหน้าที่ของตัวเองและประมวลของการปฏิบัติที่เหมาะสม ความสัมพันธ์ห้าประการ คือ
1. บิดากับบุตรชาย
        2.  พี่ชายกับน้องชาย
3.  สามีกับภรรยา
4.  เพื่อนกับเพื่อน
3.  ผู้ปกครองกับราษฎร
ขอให้สังเกตว่า ความสัมพันธ์จัดอยู่ในขั้นพื้นฐานสองประการ คือ ความประพฤติที่เหมาะสมในครอบครัวและความประพฤติที่เหมาะสมในสังคม

ความประพฤติที่ถูกต้อง  ขงจื๊อเชื่อว่า ความประพฤติดีและความเคารพเริ่มต้นที่บ้าน สามีจะต้องดีกับภรรยาของตน ภรรยาจะต้องเชื่อฟังการตัดสินใจทุกอย่างของสามี พี่น้องจะต้องมีเมตตากับพี่น้อง แต่น้องชายต้องทำตามความประสงค์ของพี่ชายเสมอ หนึ่งในคำสอนที่สำคัญที่สุดของขงจื๊อเป็นเรื่องลูกกตัญญูหรือดูแลพ่อแม่ด้วยความเคารพ
ขงจื๊อก็ยังกังวลกับพฤติกรรมของผู้คนในสังคม เจ้าหน้าที่ควรได้รับการเคารพ ความรับผิดชอบของผู้ปกครองคือการดำรงชีวิตอย่างถูกต้องและดูแลราษฎรของตนด้วยความเคารพ ถ้าผู้ปกครองเป็นผู้นำในทางที่ถูกต้องชอบธรรม  หน้าที่ของราษฎรคือการเชื่อฟัง ถ้าพฤติกรรมเหล่านี้ได้รับการประพฤติตาม  จะมีความสงบสุขในสังคม

อิทธิพลของลัทธิขงจื๊อ ลัทธิขงจื้อได้วางบทบาททางครอบครัวและทางสังคมอย่างชัดเจน เมื่อปฏิบัติตามบทบาทเหล่านี้ คนจีนจะพบวิธีการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข ผู้ปกครองหลายคนพยายามที่จะดำรงชีวิตอยู่ตามแบบอย่างขงจื้อเพื่อเป็นผู้ปกครองที่ดี ขงจื้อได้วางรากฐานให้กับความยุติธรรมและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีฝีมือ โดยเน้นถึงความสำคัญของการศึกษา

ลัทธิเต๋า

          ปรัชญาหลักอันดับสามของจีนโบราณได้รับการบอกเล่าว่า ริเริ่มโดยเล่าจื๊อ (Laozi - low•dzuh) ไม่มีใครรู้ว่าเขามีชีวิตอยู่จริง ๆ หรือไม่ แต่บางคนบอกว่าเขามีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช เล่าจื๊อ หมายความว่า "เจ้านายเก่า”  คัมภีร์คำสอนของท่าน คือ เต๋าเต๊กเก็ง (Daodejing) (หนังสือวิถีแห่งคุณธรรม - The Book of the Way of Virtue)  คำสอนของเล่าจื๊อ เรียกกันว่าลัทธิเต๋า (DOW•IHZ•uhm)  คำสอนเหล่านั้นตรงกันข้ามกับลัทธิกฎหมายนิยมและขงจื๊ออย่างชัดเจน

แนวทาง  เล่าจื้อเชื่อว่าพลังอำนาจของจักรวาลที่เรียกว่า เต๋า (Dao) หรือแนวทาง (Way) ชี้นำทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดยกเว้นมนุษย์ อาศัยอยู่อย่างสอดคล้องกับพลังนี้ มนุษย์โต้แย้งเกี่ยวกับคำถามถึงความถูกต้องและความผิด ตามคำสอนของเล่าจื้อ ข้อโต้แย้งดังกล่าวไม่มีจุดหมาย ความสัมพันธ์กับธรรมชาติและความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มนุษย์แต่ละคนต้องค้นหาวิถีทางเฉพาะตัวหรือ เต๋า เพื่อปฏิบัติตาม แต่ละคนควรเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยความเป็นอันหนึ่งเดียวกัน หรือข้อตกลง กับธรรมชาติและด้วยความรู้สึกภายในของเขาหรือเธอ
เล่าจื้อและสานุศิษย์ของเขาก็เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบทางธรรมชาติมากกว่าการจัดระเบียบสังคม ตามคำสอนของเต๋าถ้าแต่ละคนสามารถหาวิธีการของแต่ละบุคคลของเขาหรือเธอและเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่ด้วยความกลมกลืนกับธรรมชาติ ครั้นแล้วการจัดระเบียบสังคมจะติดตามมา ดังที่เล่าจื้อกล่าวว่า  "ผู้คนควรจะอิ่มอกอิ่มใจในความเรียบง่ายในชีวิตประจำวันของพวกเขาด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและไม่อยู่ใต้อำนาจของความอยาก (ตัณหา)"
หยิน หยาง
สัญลักษณ์หยินและหยาง  วงกลมนอก หมายถึง สรรพสิ่ง
รูปด้านใน เป็นตัวแทนการปฏิสัมพันธ์ของอำนาจ
การปฏิบัติตามแนวทาง  ผู้นับถือเต๋าทั้งหลายไม่ได้ขัดแย้งกับความดีและความชั่ว และก็ไม่ได้พยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ พวกเขายอมรับทุกสิ่งตามที่มันเป็น ซึ่งแตกต่างจากสานุศิษย์ของลัทธิกฎหมายนิยมและลัทธิขงจื้อ พวกเขาไม่ต้องการที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาล ในความเป็นจริงพวกเขาคิดว่ารัฐบาลควรปล่อยให้ประชาชนอยู่ตามลำพัง
ผู้นับถือเต๋าพยายามเข้าใจธรรมชาติและมีชีวิตอยู่ด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับจังหวะของธรรมชาติ ข้อนี้รวมถึงการคิดของหยินและหยางหรือทั้งสองสิ่งที่มีปฏิกิริยาต่อกันและกัน และเป็นตัวแทนจังหวะธรรมชาติของชีวิต  หยิน (สีดำ) หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีความเย็น มืดและลึกลับ  หยาง (สีขาว) หมายถึงทุกสิ่งที่อยู่ในความอบอุ่น สดใสและแสง  พลังอำนาจทั้งหลายเติมเต็มซึ่งกันและกัน พลังอำนาจมักจะเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเสมอ การทำความเข้าใจหยินและหยางช่วยให้คนเข้าใจวิธีที่เขาหรือเธอจะอยู่กับโลกอย่างเหมาะสม
ในการค้นหาความรู้และความเข้าใจในธรรมชาติ ผู้นับถือเต๋าแสวงหาการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ พวกเขาทำผลงานที่สำคัญให้กับวิทยาศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ เช่น ดาราศาสตร์และแพทยศาสตร์

ราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่น

          ในตอนสิ้นสุดแห่งยุคของราชวงศ์โจว หลายรัฐก็ยังคงอยู่ในภาวะสงคราม ย้อนหลังไปดู  จีนเชื่อในอาณัติแห่งสวรรค์ ตามความเชื่อนั้น สงครามและปัญหาอื่น ๆ เป็นสัญญาณว่าราชวงศ์ที่ปกครองทำให้สวรรค์พิโรธ ชาวจีนเชื่อว่าพวกเขาต้องการนักปกครองคนใหม่

ราชวงศ์ฉินรวมจีนเป็นปึกแผ่น

          ผู้ปกครองคนใหม่ของจีนมาจากรัฐฉิน (Qin or chihn) นักวิชาการบางคนคิดว่าชื่อของประเทศจีนอาจจะมาจากคำนี้ จักรพรรดิใหม่ใช้ชื่อชิหวั่งตี้ (Shi Huangdi - shee hwahng•dee) พระองค์จะรวมและขยายจีน
เสื้อหยก
เสื้อหยกในพิธีฝังศพ  เสื้อหยกนี้ทำขึ้นมาจากหยก 2,498 ชิ้น
ชาวจีนเชื่อว่า หยกจะรักษาศพไว้หลังจากตาย
นักปกครองที่นิยมกฎหมาย  ในระหว่าง 221 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ผู้ปกครองรัฐฉิน ชิหวั่งตี้เริ่มยุติสงครามภายในระหว่างรัฐที่กำลังทำสงครามกัน จากนั้น พระองค์ก็พิชิตรัฐคู่ปรับและขับไล่ผู้รุกรานเร่ร่อนออกไป จีนได้ขยายใหญ่ขึ้นกว่าที่เคยอยู่ภายใต้ราชวงศ์โจว
พระเจ้าชิหวั่งตี้เชื่อในลัทธิกฎหมายนิยม และวิธีการบริหารประเทศ  พระองค์พยายามกำจัดลัทธิขงจื้อ  พระองค์สั่งให้ฆ่านักวิจารณ์และผู้นับถือลัทธิขงจื้อ 460 คน นอกจากนี้พระองค์ยังได้รับสั่งให้เผาตำราที่บรรจุความคิดที่พระองค์ไม่ชอบ
รูปปั้นกองทัพดิน
รูปปั้นกองทัพดิน  รูปปั้นทหารดินเหนียวฝังอยู่ที่สุสานของพรเจ้าชิหวั่งตี้
รวมจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  พระเจ้าชิหวั่งตี้ ต้องการให้รัฐบาลกลางเข้มแข็ง การรับการบังคับบัญชา พระองค์พยายามทำให้ครอบครัวขุนนางจีนอ่อนแอ ริบเอาที่ดินของขุนนางและบังคับให้พวกเขาอยู่ในเมืองหลวงเพื่อจับตาดูพวกเขา การกระทำเหล่านี้ทำให้อำนาจของจักรพรรดิมีความเข้มแข็ง
พระเจ้าชิหวั่งตี้ เริ่มรวมประเทศจีนให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพระองค์  พระองค์ได้สร้างทางหลวงและโครงการชลประทานเพื่อเชื่อมดินแดนเข้าด้วยกัน  บังคับให้ชาวนาทำงานในโครงการเหล่านี้และตั้งภาษีสูงในการจ่ายค่าแรงพวกเขา  พระองค์ยังได้ตั้งมาตรฐานของรัฐบาลเกี่ยวกับเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัด เหรียญและการเขียนซึ่งทำให้ง่ายต่อการทำธุรกิจในทุก ๆ  สถานที่ในประเทศจีน

กำแพงเมืองจีน  พระเจ้าชิหวั่งตี้ ต้องการกำแพงยาวไปตามพรมแดนทางเหนือของจีน เพื่อป้องกันชนเผ่าเร่ร่อน (หมายถึงมองโกล) ผู้มารุกราน พระองค์ทรงออกแบบกำแพงขนาดใหญ่ที่เชื่อมกำแพงขนาดเล็กซึ่งสร้างขึ้นในช่วงการทำสงครามรัฐเข้าด้วยกัน  กำแพงที่เก่าแก่ที่สุดสร้างขึ้นมาจากดิน ภายหลังจึงนำหินและอิฐมาใช้
กำแพงเมืองจีน (The Great Wall)
กำแพงเมืองจีน (The Great Wall) สร้างในสมัยพระเจ้าชิหวั่งตี้
พระเจ้าชิหวั่งตี้ ทรงเกณฑ์ชาวนาและอาชญากรนับร้อยนับพันมาสร้างกำแพงขนาดใหญ่  คนงานหลายคนเสียชีวิตจากการทำงานหนัก การเสียชีวิตทำให้ประชาชนไม่พอใจเป็นอย่างมาก ราชวงศ์ต่อมา ได้สร้างกำแพงขึ้นมาใหม่และขยายออกไปหลายครั้ง

สิ้นสุดราชวงศ์ฉิน  พระเจ้าชิหวั่งตี้  สวรรคตในระหว่าง 210 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  พระองค์ถูกฝังอยู่ในหลุมฝังศพที่ซับซ้อน กองทัพของทหารที่ทำจากดินเผาถูกฝังอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเพื่อปกป้องหลุมฝังศพของพระองค์ นักโบราณคดีค้นพบทหารในปี คริสต์ศักราช 1974

------------------------------------------------------------------------------------------
ผู้สร้างประวัติศาสตร์
พระเจ้าชิหวั่งตี้ หรือ จิ๋น ชิ หวัง (259 – 210 ปี ก่อนคริสต์ศักราช)
พระเจ้าชิหวั่งตี้  ได้ตัดสินพระทัยในการรวบรวมและเสริมสร้างจีนให้แข็งแรง พระองค์ทรงต่อต้านศัตรูของจีนและศัตรูของการปกครองของพระองค์อย่างหฤโหด กองทัพของพระองค์ ได้โจมตีผู้รุกรานทางทิศเหนือของแม่น้ำหวงเหอ (ฮวงโห) และทางทิศใต้ ไกลออกไปถึงเวียดนามในปัจจุบัน  ชัยชนะทางทหารของพระองค์ได้เพิ่มขนาดของจีนเป็นสองเท่า
พระเจ้าชิหวั่งตี้รวบรวมจีน
พระเจ้าชิหวั่งตี้ ผู้นับถือลัทธิกฎหมายนิยม ทรงเชื่อมั่นในรัฐบาลกลางที่มีประสิทธิภาพ พระองค์ ได้ถอนรากถอนโคนตระกูลขุนนาง 120,000 ครอบครัว บังคับให้พวกเขาย้ายไปยังเมืองหลวงและยึดเอาที่ดินของพวกเขา พระองค์ทรงบังคับให้ชาวนาสร้างทางหลวงเชื่อมโยงกัน มากกว่า 4,000 ไมล์ เพื่อเชื่อมต่อประเทศ พระองค์พยายามให้นักวิจารณ์สงบปากสงบคำ โดยการสั่งให้เผาหนังสือ "ไร้ประโยชน์” แม้พระองค์ได้รวบรวมประเทศจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ก็ได้สังเวยเสรีภาพของประชาชนของพระองค์
----------------------------------------------------
ราชวงศ์ฮั่น
ราชโอรสของชิหวั่งตี้เป็นนักปกครองที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าพระราชบิดาของตน ในระหว่างที่เขาปกครอง  มีการก่อจลาจลและจากนั้นก็มีสงครามกลางเมืองระอุไปทั่ว  แม่ทัพชื่อหลิวปัง (lee•Yoo bahng) ยุติสงครามกลางเมืองและได้รวบรวมจีนอีกครั้ง ในช่วง 202 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เขาเริ่มก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น  ราชวงศ์ฮั่นยืนหยัดอยู่จนถึงประมาณคริสต์ศักราช 220  ซี่งอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันกับจักรวรรดิโรมัน
แผนที่จีนสมัยราชวงศ์ฮั่น
แผนที่จีนสมัยราชวงศ์ฮั่น  202 ปี ก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 220
คณะปกครองราชวงศ์ฮั่น  หลิวปังยังรักษานโยบายการปกครองส่วนกลางอันเข้มแข็งของราชวงศ์ฉินไว้แต่เขาลดภาษีลง การลงโทษแบบรุนแรงก็น้อยลง  ในจีนฮั่น ผู้ชายชาวนาเป็นหนี้แรงงานรัฐบาลปีละหนึ่งเดือนในโครงการสาธารณะของจักรพรรดิ หลิวปังให้ชาวบ้านไปทำงานก่อสร้างถนน คลองและโครงการชลประทาน
นักปกครองชาวฮั่นได้จัดตั้งการปกครองระบบเจ้าขุนมูลนาย ระบบราชการ (bureaucracy  - byu•RAHK•ruh•see) ซึ่งเป็นระบบของหน่วยงานในการดำเนินงานของรัฐบาล ในวิธีการปกครองนี้ เจ้าหน้าที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ปกครอง ซึ่งดำเนินงานเป็นสำนักงานหรือที่ทำการ  เจ้าหน้าที่ได้ช่วยบังคับบัญชาในการปกครององจักรพรรดิ  นักปกครองชาวฮั่น ได้ให้ตำแหน่งแก่สมาชิกในครอบครัวและคนน่าที่เชื่อถือในรัฐบาลท้องถิ่น  อย่างไรก็ตาม ในที่สุด ทักษะความชำนาญของผู้คนเริ่มมีบทบาทสำคัญในการเลือกเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักปกครองชาวฮั่นได้จัดตั้งระบบเฟ้นหาคนที่มีการศึกษาและจริยธรรมมากที่สุดเพื่อเข้ารับข้าราชการในรัฐจักรวรรดิ  พวกเขาได้ทดสอบบุคคลที่มีวามรู้ในลัทธิขงจื้อ ระบบความเชื่อกลายเป็นรากฐานของรัฐบาลจีน

การปกครองของจักรพรรดินี  เมื่อหลิวปังเสียชีวิตในช่วง 195 ปีก่อนคริสต์ศักราช จักรพรรดินีม่ายของหลิวปัง ชื่อ หลิว () ได้ให้ลูกชายคนเล็กปกครอง หลิวอายุยืนกว่าลูกชายและยังคงให้ลูกชายครองบัลลังก์ต่อไป ข้อนี้ทำให้เธอผูกขาดอำนาจเพราะลูกยังเด็กเกินไปสำหรับการปกครอง เมื่อเธอเสียชีวิตในช่วง 180 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ผู้จงรักภักดีต่อหลิวปังได้สำเร็จโทษสมาชิกในตระกูลของเธอทุกคน

การขยายและการรวมจักรวรรดิ  ตั้งแต่ 141-87 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ทายาทของหลิวปังชื่อ  หวู่ตี้  (Wudi – woo•dee) ได้ปกครองอาณาจักรฮั่น เขาได้รับการขนานนามว่า จักรพรรดิแห่งสงคราม เพราะเขาใช้สงครามเพื่อขยายจีน หวู่ตี้ได้รับชัยชนะทางทหารหลายครั้ง เขาได้รวบรวมภูมิภาคทางตอนใต้ของจีน ทางตอนเหนือของเวียดนามและภาคเหนือเกาหลีภายใต้มาอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของตนเอง ได้ขับไล่ชนเผ่าเร่ร่อนผู้บุกรุกออกจากทางตอนเหนือของจีน ในตอนท้ายของการปกครองของหวู่ตี้ จีนได้แผ่ขยายใหญ่อย่างมีนัยสำคัญเกือบเท่าดินแดนในปัจจุบันของจีน
การรวมอาณาจักรขนาดใหญ่และมีความหลากหลายนี้  รัฐบาลจีนได้ส่งเสริมประชาชนที่ตนเองพิชิตได้ให้กลมกลืนกันหรือให้ยอมรับวัฒนธรรมของจีน เพื่อจะทำให้ได้อย่างนั้น รัฐบาลจึงส่งเกษตรกรชาวจีนไปตั้งรกรากบริเวณพื้นที่ที่เป็นอาณานิคมใหม่ ๆ  พร้อมทั้งสนับสนุนเกษตรกรให้แต่งงานกับประชาชนที่ตนเองพิชิตได้ เพื่อช่วยให้วัฒนธรรมจีนแพร่กระจาย เจ้าหน้าที่ของรัฐได้จัดตั้งโรงเรียนเพื่อสอนลัทธิขงจื้อให้กับคนในท้องถิ่น แล้วพวกเขาก็แต่งตั้งนักวิชาการในท้องถิ่นเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล
ราชวงศ์ฮั่นเผชิญกับการก่อจลาจล การปฏิวัติชาวนา น้ำท่วม ความอดอยากและภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ รัฐบาลที่แข็งแกร่งและประชากรที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันช่วยให้พวกเขายังดำรงอยู่ในอำนาจ พวกเขาปกครองประเทศจีนจนกระทั่ง ค.ศ. 220

การดำรงชีวิตในสมัยจีนฮั่น

         ในปัจจุบันนี้ ชาวจีนจำนวนมากเรียกตัวเองว่าชาวฮั่น พวกเขายืนยันอย่างเข้มแข็งว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอดีตกาลอันเก่าแก่ ชาวฮั่นเป็นคนขยันมีอารยธรรมเจริญรุ่งเรืองมานานหลายทศวรรษ
ผูหญิงในราชวงศ์ฮั่น
ผู้หญิงในราชสำนักจีน แต่งตัวและทำผมอย่างประณีต
การใช้ชีวิตประจำวันในสมัยจีนฮั่น  สังคมฮั่นส่วนใหญ่ทำงานในไร่นา เกษตรกรอาศัยอยู่ในหมู่บ้านใกล้ผืนแผ่นดินที่พวกเขาทำงาน ส่วนมากอาศัยอยู่ในบ้านโคลนที่มีหนึ่งห้องหรือสองห้อง  นอกจากนี้ยังมี ยุ้งฉาง เล้าหมู และอาคารเก็บของตั้งอยู่ด้วย  เกษตรกรที่ร่ำรวย อาจจะมีวัวหนึ่งตัวหรือสองตัวสำหรับลากไถ เกษตรกรที่ยากจนจะลากไถด้วยตัวเอง ทั้งคนรวยและคนจนมีเครื่องมือเรียบง่ายสองสามชนิดในการทำไร่นาให้ง่ายขึ้นมาเล็กน้อย
เกษตรกรชาวจีนสวมเสื้อผ้าที่เรียบง่ายและรองเท้าแตะเหมือนเสื้อผ้าในปัจจุบันนี้เป็นส่วนมาก  ในช่วงหน้าหนาว เสื้อผ้าของพวกเขาจะถูกยัดเหมือนผ้าห่ม เกษตรกรในภาคเหนือจะปลูกข้าวสาลีหรือข้าวฟ่าง ผู้ที่อยู่ในภาคใต้ จะปลูกข้าว  หลายครอบครัวจะรักษาสวนผักไว้เพื่อเป็นอาหารเสริม ปลา และเนื้อสัตว์ก็ยังพอหาได้  แต่มีราคาแพง เป็นผลให้คนส่วนใหญ่กินเนื้อสัตว์และปลาเป็นส่วนน้อย

ชีวิตในเมือง  ชาวจีนฮั่นไม่ได้อาศัยอยู่ในชนบททุกคน  ยังมีเมืองด้วย  เมืองเป็นศูนย์กลางของการค้า การศึกษาและการปกครอง  พ่อค้า ช่างฝีมือ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ อาศัยอยู่ในเมือง ในบางวิธี เมืองไม่แตกต่างจากเมืองในปัจจุบันนี้มากนัก  คับคั่งและมีการบันเทิงหลายชนิด รวมถึงนักดนตรี นักเล่นกลและกายกรรม  ตามที่นักเขียนบางคนบอกไว้  ในเมืองยังมีแก๊งข้างถนน
ม้าบิน
รูปปั้นม้าบินสัมฤทธิ์  ถือกันว่า เป็นศิลปะที่งดงามที่สุดชิ้นหนึ่งแห่งราชวงศ์ฮั่น

มรดกของจีนโบราณ

เส้นทางสายไหม
เส้นทางสายไหม
เส้นทางสายไหม

          ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ชาวจีนรู้จักแต่วิธีทำไหมเท่านั้น  ไหมเป็นที่ต้องการมากเนื่องจากเป็นผ้าที่หรูหรา สำหรับชาวจีนและคนนอกประเทศจีน ผ้าไหมจีนเป็นสิ่งที่สำคัญในการเปิดเส้นทางการค้าไปทางทิศตะวันตก
เหรียญจีน
เหรียญนี้ใช้ในสมัียราชวงศ์ฮั่น ด้านทิศตะวันออกของเอเชียกลาง จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 6
การเชื่อมผ่านระหว่างยุโรปและเอเชีย  เส้นทางการค้าทางบกเรียกว่า เส้นทางสายไหม (Silk Roads) เนื่องจากพ่อค้าใช้ขนส่งผ้าไหมและสินค้าอื่น ๆ เดินทางเป็นกองเกวียน เส้นทางตรงไปทางทิศตะวันตกยาวเหยียดจากประเทศจีนผ่านเอเชียกลาง สู่เมโสโปเตเมียและยุโรป ครอบคลุมอาณาบริเวณประมาณ 5,000 ไมล์ เนื่องจากเส้นทางเหล่านี้ทอดข้ามสองทวีป คือ ยุโรปและเอเชีย จึงเรียกันกว่า ทรานส์-ยุเรเชียน (trans-Eurasian) จีนเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการค้าขายอันใหญ่มหึมาของโลก
การเย็บปักถักร้อยไหมพรม
การเย็บปักถักร้อยไหมพรม การเย็บปักถักร้อยไหมพรมของจีนชิ้นนี้
แสดงถึงพุทธกิจการเผยแพร่พระธรรมบนภูเขาคิชฌกูฏ
ประมาณ 100 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เส้นทางสายไหมก่อกำเนิดขึ้นสมบูรณ์เต็มที่ เหล่าพ่อค้าสร้างความร่ำรวยด้วยการขนส่งสินค้าไปมาข้ามภูมิประเทศอันทุรกันดารด้วยกองคาราวานอูฐ การเดินทางอาจใช้เวลาหลายปี เมืองตามเส้นทางสายไหมจะจัดอาหาร น้ำ และที่พักพิง พร้อมทั้งสินค้าไว้จำหน่าย สินค้าที่ออกจากประเทศจีน มีทั้งผ้าไหม กระดาษ หยก และเครื่องปั้นดินเผา สินค้าแลกเปลี่ยนที่มาจากตะวันตก มีเมล็ดงาและน้ำมันโลหะและอัญมณี สินค้ารายการหนึ่งซึ่งชาวจีนให้มูลค่าเป็นพิเศษ คือ ม้าจากเอเชียกลาง
แผนที่เส้นทางสายไหม
แผนที่เส้นทางสายไหม
การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม  สินค้าที่ค้าขายกันไม่ได้มีเพียงสิ่งของเท่านั้นที่เคลื่อนย้ายบนเส้นทางสายไหม ความคิดและประเพณีวัฒนธรรมก็แพร่กระจายไปตามเส้นทางสายไหมด้วย  การแพร่กระจายความคิดและประเพณีนี้เรียกว่า การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม (Cultural diffusion) สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อใดก็ตามที่คนกลุ่มหนึ่งมาติดต่อประสานกับคนอีกกลุ่มกลุ่มหนึ่ง
ตามที่ทราบแล้วว่า อุปสรรคด้านภูมิศาสตร์ได้แยกประเทศจีนให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว ซึ่งหมายความว่าวัฒนธรรมของจีน ได้พัฒนากับอิทธิพลภายนอกเล็กน้อย  แต่เส้นทางสายไหม ที่ทอดอ้อมทะเลทรายทากลิมากัน (Taklimakan) และข้ามเทือกเขาปารมีส์ (Pamirs) ช่วยให้สินค้า ความคิดและขนบธรรมเนียมใหม่ ๆ เข้าสู่ประเทศจีน ตัวอย่างเช่น สิ่งต่าง ๆ เช่นเทคนิคการทหารของเอเชียกลาง คำสอนทางพุทธศาสนาและรูปแบบวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาสู่ประเทศจีน ในทางกลับกัน ศิลปะจีน ผ้าไหม และเครื่องปั้นดินเผาได้มีแพร่อิทธิพลต่อวัฒนธรรมตะวันตก

การเผยแพร่พระพุทธศาสนา  ในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น พระธรรมทูตชาวพุทธ ได้เดินทางเข้ามาประเทศจีนตามเส้นทางสายไหมและเผยแพร่ศาสนาให้กับคนจีน  ตอนแรก แนวความคิดต่างแดนนั้น (หมายถึงพระพุทธศาสนา) ได้ดึงดูดสาวกได้ไม่กี่คน อย่างไรก็ตามในปีที่เกิดความโกลาหลหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น  บทสวดมนต์ที่ทำให้พ้นจากความทุกข์ของพุทธศาสนาก็ดึงดูดความสนใจแก่ชาวจีนจำนวนมาก ชาวพุทธจีนจึงปรับปรุงแก้ไขศาสนาพุทธให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง พุทธศาสนาได้เผยแพร่จากประเทศจีนไปยังประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี
เส้นทางสายไหม
เส้นทางสายไหม

แนวความคิดและความเชื่อที่มีอิทธิพล

          ปรัชญาของจีนโบราณมีอิทธิพลต่อประเทศและต่อโลก มาตรฐานที่ขงจื้อจัดตั้งขึ้นยังคงอยู่อย่างมีนัยสำคัญในการปกครองและการศึกษาของจีน  ปัจจุบันนี้แนวความคิดของขงจื้อเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ทางสังคมยังคงมีความสำคัญอยู่ในหมู่บ้านจีน  ลัทธิขงจื้อกลายเป็นปรัชญาที่มีอิทธิพลมากในประเทศญี่ปุ่นเกาหลีและเวียดนาม
ลัทธิเต๋ามีอิทธิพลอย่างยาวนานในประเทศจีน  ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ ก็กลายเป็นศาสนาที่มีพระสงฆ์ พิธีกรรมและปริมาณของการเก็บรวบรวมงานเขียน ซึ่งแตกต่างจากลัทธิขงจื้อ แต่เต๋ายังคงอยู่ในระบบความเชื่อขั้นต้นของจีน
ศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื้อ เป็นศาสนาหรือระบบจริยธรรมหลักทั้งสามรวมกัน ได้มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของจีน ความเชื่อของคนส่วนใหญ่ประกอบด้วยองค์ประกอบของทั้งสามศาสนา  วัดเต๋า และวัดทางพุทธศาสนาสามารถมองเห็นได้ทั่วประเทศจีน ปัจจุบันนี้ ระบบความเชื่อทั้งสามระบบ มีศาสนิกชนทั่วโลก พุทธศาสนาจะแพร่หลายเป็นส่วนใหญ่  มีศาสนิกชนเกือบ 379  ล้านคน ใน 130 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้นับถือลัทธิขงจื้อเกือบ 6.5 ล้าน  และผู้นับถือลัทธิเต๋า ประมาณ 2.7 ล้านทั่วโลก

สิ่งประดิษฐ์คิดค้นของชาวจีน

          จีนมีประชากรมากมายมหาศาลและกำลังขยายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  สำหรับการดูแล  จีนพิจารณาเห็นว่าการทำนาเป็นอาชีพที่สำคัญที่สุดและมีเกียรติ เพราะการเกษตรมีนัยสำคัญมากในประเทศจีน  สิ่งประดิษฐ์ทางการเกษตรใหม่ ๆ  จำนวนมาก จึงเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้

การปรับปรุงทางการเกษตร  สิ่งประดิษฐ์ของชาวจีนทำให้การดำเนินชีวิตของเกษตรกรง่ายขึ้นและทำให้ข้าวมีมากขึ้นสำหรับค้าขาย  ตัวอย่างเช่น ชาวจีนได้ปรับปรุงไถให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะมันมีสองผาล ไถที่ได้รับการปรับปรุง พร้อมกับเครื่องมือการทำเกษตรที่ทำจากเหล็กอย่างดีช่วยให้ผลผลิตของพืชพันธุ์ธัญญาหารเพิ่มขึ้น  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอีกประการหนึ่งก็คือบังเหียนสวมคอม้า   สิ่งประดิษฐ์นี้ทำให้ม้าบรรทุกของได้มากกว่าบังเหียนที่ทำขึ้นใช้กันในยุโรปในช่วงเวลานั้น  จีนยังเป็นผู้คิดค้นรถสาลี่ (รถเข็นล้อเดียว – เฉพาะล้อหน้า) ซึ่งทำให้เกษตรกรขนของหนักด้วยมือได้ง่ายขึ้น  จีนเริ่มใช้กังหันน้ำที่ใช้พลังงานน้ำในการบดเมล็ดข้าว ในผืนดินของเกษตรกรส่วนใหญ่ สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่า

กระดาษ  ในคริสต์ศักราช 105  มีการคิดค้นกระดาษขึ้นในประเทศจีน ก่อนหน้านั้นหนังสือทำจากผ้าไหมมีราคาแพง กระดาษราคาไม่แพงทำขึ้นมาจากส่วนผสมของเศษผ้าเก่า เปลือกไม้หม่อน และเส้นใยจากพืชกัญชา  กระดาษราคาไม่แพงทำให้ประเทศที่ให้คุณค่าในด้านการเรียนรู้สูงมีหนังสือเรียน  การประดิษฐ์กระดาษยังได้ส่งผลกระทบรัฐบาลจีน  ก่อนหน้านี้เอกสารของรัฐบาลทั้งหมด ได้รับการบันทึกลงบนแผ่นไม้  การใช้กระดาษสำหรับการบันทึกเก็บรักษาสะดวกสบายมากขึ้น  กระดาษเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญสำหรับการบริหารของข้าราชการ ซึ่งได้เก็บรักษาระเบียน (จดหมายเหตุ) ไว้เป็นอันมาก
ผ้าไหม
ปัจจุบันนี้ก็ยังมีพ่อค้านำผ้าไหมมาขายที่ตลาดเส้นทางสายไหมเก่าในเมืองคัชการ์ ประเทศจีน
ผ้าไหม  ผ้าไหมมีความสวยงามและมีความทนนาน สามารถย้อมให้มีสีสดใสได้    จีนเท่านั้นรู้เคล็ดลับในการทำผ้าไหมมาเป็นเวลาประมาณ 3,000 ปี เนื่องจากผ้าไหมเป็นของหายาก จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้าที่ยอดเยี่ยม ผ้าไหมทำให้จีนได้รับเงินและทองจากดินแดนทางตะวันตกของจีน  ครั้งหนึ่ง ผ้าไหม 1 ปอนด์มีมูลค่าเท่ากับทอง 1 ปอนด์  การได้รับทองและเงินเป็นสิ่งสำคัญต่อประเทศจีนเพราะประเทศไม่ได้มีพื้นที่ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุแต่ประการใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น